ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง ในพนักงานโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • จามรี สอนบุตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อุไรวรรณ ศิริธรรมพันธ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อับดุลบาซิส ยาโงะ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความชุก, ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง, พนักงานโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา

บทคัดย่อ

การวิจัยพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal Discomfort: MSD) ในพนักงานโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราในจังหวัดยะลา จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามลักษณะงาน และอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามนอร์ดิก (Nordic Musculoskeletal Questionnaire) ทีมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์พหุปัจจัย (Multivariable Analysis) ค่าอัตราแต้มต่ออย่างหยาบ (Crude Odds Ratio) และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่า

1. ความชุกของ MSD โดยรวม (Overall) ในพนักงานโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ในรอบ 7 วัน (7-Day Prevalence) เท่ากับร้อยละ 64.67 และในรอบ 12 เดือน (12-Month Prevalence) เท่ากับร้อยละ 70.06 และอวัยวะที่มีความชุกของ MSD สูงสุด ในรอบ 7 วัน (7-Day Prevalence) และในรอบ 12 เดือน (12-Month Prevalence) คือ ไหล่ (41.92 และ 44.91 ตามลำดับ) รองลงมา คือ หลังส่วนล่าง (34.13 และ 35.33 ตามลำดับ)

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเชิงบวกกับ MSD ในรอบ 12 เดือน (12-Month) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ แผนกผลิต (B=1.769) การทำงานที่ใช้นิ้วมือ/มือ/แขน ทำงานซ้ำ ๆ ตลอดเวลา (B=2.301) และการทำงานบ้านหลังเลิกงาน (B=0.882)

พนักงานในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารามีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างสูง ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสภาพการทำงานโดยเฉพาะท่าทางในการทำงานแบบซ้ำ ๆ

References

Bureau of Occupational and Environmental Diseases (BOED). Department of Disease Control. (2018). Health and Health Problems from Experts and The Environment Report in 2017. Nontaburi: Ministry of Public Health. (in Thai).

Chauychoocherd, T., Kongtawelert, A., Sujirarat, D., & Bhuanantanondh, P. (2020). Factors Associated with Work-Related Musculoskeletal Disorders among Wood Furniture Informal Workers in Sukhothai Province. Thai Journal of Health Education, 43(2), 54-65. (in Thai).

Chirawatkul, A. (2015). Statistics for Health Science Research. (4th ed). (pp.160). Bangkok: Wittapat Printing.

Collins, J., D., & O'Sullivan, L., W. (2015). Musculoskeletal Disorder Prevalence and Psychosocial Risk Exposures by Age and Gender in a Cohort of Office Based Employees in Two Academic Institutions. International Journal of Industrial Ergonomics, 46, 85-97.

Crawford, J. O., Berkovic, D., Erwin, J., Copsey, S. M., Davis, A., Giagloglou, E. et al., (2020). Musculoskeletal Health in The Workplace. Best Pract Res Clin Rheumatol, 34(5), 101598.

Deros, B., M., Daruis, D., D., I, & Basir, I., M. (2015). A Study on Ergonomic Awareness among Workers Performing Manual Material Handling Activities, Procedia - Social and Behavioral Sciences, 195(3), 1666-1673.

Keawnual, A., Lohapoontagoon, B., & Pochana, K. (2017). Prevalence of Work-Related Musculoskeletal Disorders in Various Occupations. The Public Health Journal of Burapha University, 12(2), 53-64. (in Thai).

Khongsree, S., Incharoen, S., & Thepaksorn, P. (2018). Health Hazard Assessment and Respiratory Symptoms of Para Rubber Wood Sawmill Workers in Trang Province. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 1(1), 47-64. (in Thai).

Plykaew, R., Chanprasit, C., & Kaewthummanukul, T. (2013). Working Posture and Musculoskeletal Disorders among Rubber Plantation Workers. Nursing Journal, 40(1), 1-10. (in Thai).

Sadyapongse, K., Sithisarankul, P. (2011). Prevalence and Factors Musculoskeletal Discomfort among Thai-Massage Workers. Thammasat Medical Journal, 11(2), 166-77. (in Thai).

Samael, C., Useng, N., Yeemayee, B., Cheleah, F., Paehauilay, A., & Lektip, C. (2017). Work-Related Musculoskeletal Disorders among Brick Workers in Nakon Si Thammarat Province. Thanksin. J, 20(1), 10-6. (in Thai).

Somboontum, R., Meepradit, P., & Yingratanasuk, T. (2017). The Ergonomic Risks Assessment of the Rubber Peeling Task in a Rubber Factory, Chantaburi Province. Proceeding of 10th Rajamangala University of Technology Tawan-ok Research Conference, 29-31 May 2017: 443-51. (in Thai).

Theerawanichtrakul, S., & Sithisarankul, P. (2014). Prevalence and Related Factors of Musculoskeletal Discomfort among Road Sweepers in Bangkok. Thammasat Medical Journal, 14(1), 166-77. (in Thai).

Toonsang, T., Boonsiri, P., Srijaroen, W., Sribenchamas, N., Samruayruen, K., & Junsukon, E. (2019) Factors Affected to Muscle Pain among Electronics Industries Workers in Klongluang district Pathumthani Province. EAU HERITAGE JOURNAL Science and Technology, 13(2), 254-66. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-28