ทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ญนัท วอลเตอร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • กนกพรรณ พรหมทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

ทักษะการสื่อสาร ความรอบรู้ทางสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล, วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพตามการรับรู้ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้ 2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพตามการรับรู้ของนักศึกษาระหว่างชั้นปีและระหว่างวิทยาลัยในเครือข่ายภาคใต้ จำนวน 5 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 ที่ กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่าง โดยวิธีแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .89 ตรวจสอบความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91  เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามทางออนไลน์โดยใช้ Google Form ระยะเวลาเก็บข้อมูล ตั้งแต่เดือนมีนาคม–กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ One-Way ANOVA  ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้ โดยรวมทุกชั้นปีอยู่ในระดับมาก (M=3.81, SD=0.67) และเมื่อจำแนกเป็นรายชั้นปี พบว่าอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (M=3.86, SD=0.68) ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มีคะแนนเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน (M=3.78, SD=0.65 และ M=3.79, SD=0.68 ตามลำดับ) เมื่อจำแนกเป็นรายสถาบันการศึกษา พบว่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง มีระดับคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (M=3.85, SD=0.49) รองลงมา คือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา (M=3.84, SD=0.46) และต่ำสุด คือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา (M=3.75, SD=0.46)

2. เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพระหว่างชั้นปีและสถาบันศึกษา พบว่าทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล เมื่อจำแนกรายชั้นปีและสถาบันศึกษาไม่แตกต่างกัน (p>.05)

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า วิทยาลัยพยาบาลควรมีการพัฒนาทักษะการสื่อสารแต่ละด้านของนักศึกษาให้มากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) เทคนิคการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมาย (Infographic) ที่ประกอบด้วย Key Massage 2) เทคนิคการแสดงเพื่อให้ตรวจสอบ (Show-Me) 3) เทคนิคการสอนกลับ (Teach-Back Technique) 4) การใช้คำถามสำคัญ (Ask Me 3) รวมถึงการใช้ภาษาที่เรียบง่าย การอธิบายชัดเจน การตั้งคำถาม การใช้หุ่นจำลอง และการใช้สื่ออื่น ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมในการพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางสุขภาพในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย การสาธิต การฝึกทักษะ เป็นต้น

References

Board of the 12th National Health Development Plan. (2016). The 12th National Health Development Plan. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)

Boromarajonani College of Nursing, Trang. (2016). Bachelor of Nursing Science Program. (in Thai)

Chang, P. (2017). Health Literacy Movement in Asia. Proceedings of the 10th Conferenceon Health Promotion and Environmental Health, Ministry of Public Health, Prince Palace, Bangkok. (in Thai)

Coleman, C., Kurtz-Rossi, S., McKinney, J. Pleasant, A., Rootman, I., & Shohet, L. (2012). The Calgary Charter on Health Literacy: Rational and Core Principles for Development of Health Literacy Curricula. Available from http://www.centreforliteracy. qc.ca/ health_ literacy/clgary_charter [November 3, 2019]

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Pearson: New York

Hengboriboon, P., Jaidee, P., Jaidee, P., & Suwanjaroen., J. (2018). Health Literacy on Cambodian Workers in Chonburi Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 86-101. (in Thai)

Indhraratana, A. (2014). Health Literacy of Health Professionals. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 174-178. (in Thai)

Kaeodumkoeng, K. (2017). Health Literacy: Access, Understand and Application. Bangkok: Amarin. (in Thai)

Khampisut, J. (2018). Health Literacy and Health Promotion Behaviors of Students in Naresuan University. Journal of Educational Measurement, Mahasarakham University, 24(1), 67-78. (in Thai)

Kitterawuttiwong, N. (2015). Health Literacy in Providing Public Health Activities. KKU Journal for Public Health Research, 8(2), 68-75. (in Thai)

Lattanand, K., & Ninwatcharamanee, C. (2019). Literacy of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 35(1), 277-289. (in Thai)

Nammontri, O. (2018). Health Literacy. Thai Dental Nurse Journal, 29(1), 122-128. (in Thai)

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a Public Health Goal: a Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies Into the 21st Century. Health Promotion International, 15(3), 259-67.

Nutbeam, D. (2008). The Evolving Concept of Health Literacy. Soc Sci Med, 67(12), 2072-8.

Phongsakchat, P., Areesophonpichet, S., & Navicharern, R. (2019). The Effect of Health Literacy Development Program and 3E Health Behaviors based on Local Wisdom among Nursing Students in Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development, Ministry of Public Health. Journal of Health and Nursing Research, 35(2), 199-209. (in Thai)

Sorensen, K., Van Den Broucke., S, Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., et al. (2012). Health Literacy and Public Health: A Systematic Review and Integration of Definitions and Models. BMC Public Health, 12(80), 1-13.

Sriwichai, P., & Limprasert, K. (2019). Communication Behavior among Professional Nurses at General Hospital in Phayao Province. Journal of Nursing and Health Care, 37(1), 138-147. (in Thai)

Turner, K., Rakkwamsuk, S., & Duangchai, O. (2018). Health literacy of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE RESEARCH, 12(1), 1-9. (in Thai)

U.S. Department of Health and Human Services. (2008). Healthy People 2010: Understanding and Improving Health. Washington D.C.: U.S. Goverment Printing Office.

Wongrattana, C. (2010). Techniques for Using Statistics in Research. Bangkok: Faculty of Education, Srinakharinwirot University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-01