การพัฒนาสื่อวิดีโอให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ณัฏฐพล นนทิบุตรธีรชัย นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ชรินทร์พร มะชะรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

สื่อวิดีโอให้ความรู้, การวางแผนจำหน่าย, เด็กวัยเรียน, โรคธาลัสซีเมีย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย 2) พัฒนาสื่อวิดีโอให้ความรู้เรื่อง “มารู้จักโรคธาลัสซีเมียกันเถอะ” 3) ประสิทธิผลของสื่อวิดีโอให้ความรู้เรื่อง “มารู้จักโรคธาลัสซีเมียกันเถอะ” ในเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย จำนวน 30 คน  ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาสื่อวิดีโอให้ความรู้เรื่อง “มารู้จักโรคธาลัสซีเมียกันเถอะ” และทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของสื่อวิดีโอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความรู้ในการดูแลตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความยากง่าย เท่ากับ .68  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Signed Rank test และ Mann–Whitney U test ผลวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย คือเรื่องการรับประทานอาหาร และเด็กส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง (M=15.90, SD=3.36)

2. คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อสื่อวิดีโออยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.53, SD=0.57) เจ้าหน้าที่พยาบาลในระดับมาก (M=4.25, SD=0.16) และผู้ปกครองในระดับมาก (M=4.27, SD=0.55) และผลการทดลองใช้ในเด็กพบว่า หลังดูสื่อวิดีโอเด็กมีค่ามัธยฐานคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนดูสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (Z=-4.47, p<0.01)

3. กลุ่มทดลองหลังดูสื่อวิดีโอมีค่ามัธยฐานคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนดูสื่อ และ กลุ่มทดลองที่ได้ดูสื่อวิดีโอ มีค่ามัธยฐานคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (Z=-3.94, p<.001, Z=-5.17, <0.01) ตามลำดับ

สรุป สื่อวิดีโอให้ความรู้เรื่อง “มารู้จัก โรคธาลัสซีเมียกันเถอะ” มีประสิทธิผลที่ดีในการให้ความรู้เพื่อนำไปส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย

References

Bernard, R. (2000). Fundamentals of Biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson Learning, 384-5.

Bloom, B., (1971). Mastery Learning. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Boonchuay, N., Sanasuttipun, W., Chintanadilok, N. & Sanpakit, K. (2016). The Effect of the Educational Program on Knowledge and Care Behaviors of Caregivers of Children with Thalassemia. Journal of Nursing Science, 34(3), 41-53. (in Thai).

Choladda, N. (2010). The Effect of Learning Program Through a Group Process and Cartoon Storybook to Self-Care Behavior in School Age Children with Thalassemia. A Thesis for Master Degree in Nursing Science. Khon Kaen University. (in Thai).

Department of Medical Sciences. (2018). "Thalassemia Anemia", a Genetic Disease Worrisome in Thailand. Retrieved July 22, from https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/116500.

Gagné, R. M., Briggs, L. J. & Wager, W. W. (1988). Principles of Instructional Design. (4th ed.). Fort Worth, TX: Harcourt Brace Jovanovich College Publishers, 392.

Harasarn, N. (2003). The Effect of Supportive Nursing System Combined with Computer Assisted Instruction, Title "Asthma Self-Management" on Self-Management Behavior at School of School-Aged Children with Asthma. A Thesis for Master Degree in Nursing Science. Chulalongkorn University. (in Thai).

Mapiloon, P., Rutchanagul, P., & Muensa, W. (2016). Impact of a Self-Care Development Programme for School-Age Thalassaemic Children and Their Caregivers’ Ability on the Children’s Self-Care Behavior. Thai Journal of Nursing Council, 31(2), 52-68. (in Thai).

Mukrod, S. (2008). Effect of Supportive Nursing System on Maternal Care Behavior and Self Care Behaviors of School Age Children with Thalassemia. A thesis for Master Degree in Nursing Science. Chulalongkorn University. (in Thai).

Ngokwong, C. (2009). The Effect of Learning Program Through a Group Process and Cartoon Story Book on Self-Care Behavior in School Age Children with Thalassemia. A Thesis for Master Degree in Nursing Science. Khon Kaen University. (in Thai).

Piaget, J. (1952). The Origins of Intelligence in Children. New York: International Universities Press.

Premawardhena, A., Fisher, C. A., Olivieri, N. F, de Silva, S., Arambepola, M., Perera, W., et al. (2005). Haemoglobin E beta thalassaemia in Sri Lanka. Lancet, 366, 1467-70

Pronsri, B. (2003). Effects of Teaching Program Using Group Process, on Self-Care Behaviors in School Age Children with Thalassemia. A thesis for Master Degree in Nursing Science. Khon Kaen University. (in Thai).

Srisaard, B. (1994). Interpretation of Estimation Scale Data Collecting Tool. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 2(1), 64-70. (in Thai).

Trumikaborworn, S. (2010). Discharge Planning. Paradigm Shift. Bangkok: Thana Press. (in Thai).

Weatherall, D. J., & Clegg, J. B. (2001). Inherited Hemoglobin Disorders: an Increasing Global Health Problem. Bull World Health Organ, 79(8), 704-12.

Weatherall, D. J. (2010). Thalassemia as a Global Health Problem: Recent Progress Toward Its Control in the Developing Countries. Annals of the New York Academy of Sciences, 1202, 17-23.https://doi.org/10.1111/j.1749-6632.2010.05546.x

Wong’s. (2011). Nursing Care of Infants and Children. (9th ed). Canada: Elsevier Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-22