การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมของงานบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ด้านการแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • ฟ้าใส จันท์จารุภรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาทร ริ้วไพบูลย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นภชา สิงห์วีรธรรม สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อำพล บุญเพียร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ประพฤทธิ์ สวัสดิ์วิภาชัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ธนิดา ขุนบุญจันทร์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การแพทย์แผนไทย, การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค, การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ต้นทุนรายกิจกรรมนี้เพื่อศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมของงานบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านการแพทย์แผนไทย เลือกสถานบริการแบบเฉพาะเจาะจง ในพื้นที่ต้นแบบดีเด่นด้านแพทย์แผนไทยของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สกลนคร จันทบุรี และ สุราษฎร์ธานี โดยเก็บในโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ของแต่ละจังหวัด ใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรม (Activities Based Costing) ในมุมมองของผู้ให้บริการตามกิจกรรมบริการ 5 กลุ่มวัย เก็บข้อมูลต้นทุนปีงบประมาณ 2560 ประกอบด้วยต้นทุนค่าแรง    ค่าวัสดุ และค่าครุภัณฑ์ และข้อมูลกิจกรรมบริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ผลการวิจัยพบว่า

สถานบริการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านการแพทย์แผนไทย ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับการให้บริการเพื่อรักษาโรค กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่พบมากที่สุดคือการดูแลมารดาก่อนและหลังคลอด ด้วยกิจกรรม การนวด อบ ประคบ การให้ความรู้ คำแนะนำ และการจ่ายยาสมุนไพร ต้นทุนการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านการแพทย์แผนไทยตาม 5 กลุ่มวัย พบว่า ต้นทุนทางตรงมี ค่ามัธยฐาน 142,546.24 บาท ต้นทุนทางอ้อมมีค่ามัธยฐาน 32,061.90 บาท คิดเป็นร้อยละ 81.64 และ 18.36 ตามลำดับ ส่วนต้นทุนรวมมีค่ามัธยฐาน 171,055.48 บาท ในการให้บริการต้นทุนค่าแรงมีสัดส่วนต้นทุนมากที่สุดอยู่ระหว่างร้อยละ 29.63 – 88.84 ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมบริการมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละสถานบริการ พบว่าต้นทุนการสอนทำลูกประคบมีค่ามัธยฐานมากที่สุด 361.30 บาท และต้นทุนการแนะนำการปฏิบัติตัวในด้านการแพทย์แผนไทยในเด็กอายุ 0-5 ปี มีค่ามัธยฐานน้อยที่สุด 2.76 บาท

ต้นทุนการให้บริการรายกิจกรรมเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงาน อีกทั้งยังใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเจรจาต่อรองอัตราการจ่ายค่าบริการให้กับหน่วยบริการที่มีการดำเนินกิจกรรม

References

Bunpean, A., Tantayothin, S., Yodkong, W., Cherdchuterakhun, W., & Tantayothin, Y. (2018). Evaluation on Project of Rehabilitate and Enhance Performance for Chronic and Elderly Patients by the Children and Youth Network Tambon Khlong Khwang Amphoe Sainoi Nonthaburi Province. Academic Journal of Community Public Health, 4(2), 27-37. (in Thai)

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2017). Strategic Plan, Department of Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine, 5 Years (2017-2021) Under the 20 Year National Strategy on Public Health The First Revision (2019). Ministry of Public Health Nonthaburi. (in Thai)

Drummond, M. F., Sculpher, M. J., Torrance, G. W., O'Brien, B. J., & Stoddart, G. L. (2005). Methods for the Economic Evaluation of Health Care Programme. 3rd Edition. Oxford: Oxford University Press.

Government Gazette. (2007). National Heatlh Act, 2007.

Health Insurance Group. (2013). A Handbook on Unit Cost Analysis of Health Care Service. Bangkok: The Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (in Thai)

Kaewsonthi, S., & Kamolratanakul, P. (1993). Analysisi and Evaluation in Health Car Service. Edition 2. Bangkok: Chulalongkorn University.

Kirkwook, R. B., & Sterne, C. A. J. (n.d.) (2003). Essential Medical Statistics Second Edition. Fabulous Printers Pte Ltd.

National Health Security Board. (2016). Enact from the National Health Security Board Regarding Type and Coverage of Health Services (vol 10) in 2016.

Office of Information and Knowledge Base. (2016). Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Thai Public Health Report The Side of Thai Traditional Medicine Folk Medicine And Alternative Medicine 2014-2016. Nonthaburi, Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (in Thai)

Office of Public Accounting Standards. (2014). A Guide for Unit Cost Calculation of Public Services for Fiscal Year 2557 B.E. Bangkok: The Comptroller General's Department. (in Thai)

Oxford Policy Management. (2016). Costing for UHC: OPM Seminar Series on Health Financing for UHC.

Ozaltin, A., & Cashin, C. (2014). Editors. Costing of Health Services for Provider Payment: A Practical Manual Based on Country Costing Challenges, Trade-Offs, and Solutions. Joint Learning Network for Universal Health Coverage.

Petchsiri, Ch. (2018). Survey of the Use of Traditional Herbal Remedies by the Ethnic Chong People of Khaokitchakut District, Chanthaburi Province (M.P.A.). Local Government. Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University, 2018. (in Thai)

Poomsanguan, K. (2014). Health and Health Promotion: Nurse’s Importat Role. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 15(2), 10-14. (in Thai)

Riewpaiboon, A. (2018). Cost Analysis in Health Systems. Bangkok: Saksopa, 2018. (in Thai)

Riewpaiboon, A., Keawcharoen, O., Budsungnoen, P., Singweratham, N., Wongpun, T., & Techachakhaikit, W. (2018). Cost Analysis of Health Promotion and Disease Prevention Services. Faculty of Pharmacy, Mahidol University. (in Thai)

Riewpaiboon, A., Kheawcharoen, O., Batsungnoen, P., Wongphan, T., Techakehakij, W., Singweratham, N. et al. (2018). Cost Analysis of Health Promotion and Disease Prevention Services. Bangkok: Faculty of Pharmacy, Mahidol University. (In Thai)

Shepard, D. S., Hodgkin, D., & Anthony, Y. E. (2000). Analysis of Hospital Costs: a Manual for Managers. Geneva: The World Health Organization; 2000.

Singweratham, N. (2002). Cost of Health Promotion Service in State Hospital Under the Universal Health Coverage’s Core Package (M.sc.). Community Medicine, Faculty of Medicine. Chulalongkorn University. (in Thai)

Singweratham, N., Mualprasitporn, R., Sawaengdee, K., Jitaram, P., & Tassabutr, W. (2018). DeterminingUnit Costs Per Student and Break-Even Point at Nursing College of Praboromarajchanok Institute, Thailand. Joumal of Health Science, 27(5), 936-947. (in Thai)

Suansomchirt, K. (2001). How Good Are You at Takig Care of Yourself?. Bangkok, 179 Publicher. (in Thai)

Techakehakij, W., Singweratham, N., & Wongphan, T. (2018). Unit Cost and Bugget Impact of Compulsory Programs for Health Promotion and Disease Prevention in Thailand. Bangkok: Aksorn Graphic and Design. (In Thai)

Tuntapidok, Y., & Tuntapidok, R. (2018). Basic Principle Thai Traditional Medicine Series 1. Department Thai Traditional and Alternative Medicine: Pimdee, 2018. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-18