การประเมินหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://orcid.org/0000-0002-9433-2924

คำสำคัญ:

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาทันตสาธารณสุข,ประเมินหลักสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันต-สาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหาร จำนวน 10 คน ผู้สอน จำนวน 51 คน และบัณฑิต จำนวน 39 คน รวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 แบบสอบถามสำหรับผู้สอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 แบบสอบถามสำหรับบัณฑิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

ด้านบริบท เอกสารหลักสูตร ประมวลรายวิชา และลักษณะวิชาของหลักสูตรทุกรายวิชา มีความสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และสมรรถนะของนักศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด โดยลักษณะวิชาส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้สอนมีจำนวนเพียงพอ ส่วนใหญ่มีคุณวุฒิตรงกับรายวิชาที่สอน ในระดับปริญญาตรี ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ มีจำนวนเพียงพอ สถานที่ฝึกภาคปฏิบัติมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ แต่ตำราวารสารมีไม่เพียงพอ

ด้านกระบวนการ ในการบริหารหลักสูตรมีการจัดทำแผนแม่บทและชี้แจงให้ผู้สอนเข้าใจก่อนนำไปใช้ แต่ไม่ได้ชี้แจงสาระสำคัญของหลักสูตรและประมวลรายวิชาให้ผู้สอนเข้าใจก่อนนำไปเขียนแผนการสอน ไม่มีการนิเทศกำกับติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียน การสอน รายวิชาส่วนใหญ่มีแผนการสอน มีบางรายวิชาที่อาจารย์พิเศษเป็นผู้สอนไม่มีแผนการสอน พฤติกรรมการสอนของผู้สอน พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนอยู่ในระดับมาก

ด้านผลผลิตจากสมรรถนะของบัณฑิตที่จบการศึกษา พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับแสดงพฤติกรรมนั้นเกือบทุกครั้ง (µ = 4.20, σ = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติการงานทันตสาธารณสุขโดยคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และความหลากหลายทางวัฒนธรรม (µ = 4.24, σ = 0.52)  โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ฯ (µ = 4.16, σ = 0.49)

ควรมีการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใช้หลักสูตร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้หลักสูตร

References

Barnett, R. (1994). The Limits of Competence: Knowledge, Higher Education and Society. Buckingham: The Society for Research Into Higher Education and Open University.

Chularut, P. (2018). Learning Management for Students in the Thailand 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, Social Sciences and arts 11 No. 2 May - August 2018

Kluaydang, S. (2017). Bachelor of Arts Program Assessment. Tourism and hotel industry (New course 2008) Faculty of Management Science Buriram Rajabhat University. Academic Conference to present research results for graduate studies, the second time, Rajabhat Maha Sarakham University 2017, 733-743. (in Thai)

Measurement and Evaluation Registration Work Academic Group, Sirindhorn College of Public Health Suphanburi. (2019). Royal Institute of Thailand (2019). Sirindhorn College of Public Health Suphanburi. (in Thai)

Mertens, D., & Wilson, A., (2012). Program Evaluation Theory and Practice: A Comprehensive Guide. New York: Guilford. National Education Act (No.4) B.E. (2019) (in Thai)

Nilphan, M. (2012). Research Report on the Evaluation of Master of Education Program. Department of Curriculum and Supervision Faculty of Education Silpakorn University, Nakhon Pathom. Nakhon Pathom: Faculty of Education Silpakorn University. (in Thai)

Registration, Measurement and Processing Work Academic Group, Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Lampang. (2016). Graduation Quality Assessment for Academic Year 2014, Graduate Class 34. Lampang. (in Thai)

Sompong, P. (2012). Evaluation of the Nursing Training Program in General Practice. (Primary disease treatment) Faculty of Nursing Srinakharinwirot University. Master of Science Thesis Field of Appraisal Science Graduate School Srinakharinwirot University. (in Thai)

Sriayut, W., & Tiacharoen, S. (2019). The Rajabhat University Administration Towards autonomous University. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 10(2), 219-230. (in Thai)

Srisuwan, K. (2009). Doctor of Medicine Program Assessment 1999, Srinakharinwirot University. Master of Education Thesis Higher Education Graduate School Srinakharinwirot University. (in Thai)

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Tansiri, S. (2011). Relationship Between the Management Model. And Implementation of Standards and Indicators Operation of the School's Buddhist way of Life Under Bangkok In the Office of Phra Nakhon and Dusit districts Academic. Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(1), 159-165. (in Thai)

Thasaneesuwan, S., Narkthong, N., Chuaytaen, T., Mukpradab, S., & Puttakun, N. (2016). Assessment of the Bachelor of Nursing Science Program. (Revised version 2006) Police Nursing College. Journal of Police Nurses, 8(1), 171-180. (in Thai)

The Community Health Profession Act, B. E. (2013). Published Documents Community Health Council (2013). Royal Thai Government Gazette, 130(118A), 256-372 (in Thai)

Tipsungnoen, T., Sabaiying, W., Sansa, N., & Koschuenwichit, J. (2017). A Causal Model of Caring Behavior among Nursing Students in Boromarajonani College of Nursing Under Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(1), 16-31. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-09