การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในหน่วยฝากครรภ์: การศึกษาเฉพาะกรณีเชิงคุณภาพ
คำสำคัญ:
การสะท้อนคิด, การเรียนรู้, นักศึกษาพยาบาล, หน่วยฝากครรภ์, กรณีศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาเฉพาะกรณีเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมาย ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดและคุณสมบัติของผู้ที่จะเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก โดยผู้ให้ข้อมูล คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ฝึกปฏิบัติงานในห้องฝากครรภ์ จำนวน 21 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า
1. การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด หมายถึง การฝึกคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์ตนเอง การคิดทบทวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างละเอียดและการพัฒนาวิจารณญาณเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าใจตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
2. คุณสมบัติของผู้ที่เรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดได้ดีคือ ภาวะผู้นํา ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ สามารถกำกับตนเองและชี้นําตนเองให้สามารถเรียนรู้และตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองอย่างสม่ำสมอ
3. การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดจากประสบการณ์ฝึกปฏิบัติในหน่วยฝากครรภ์สามารถสรุปได้ 3 ประเภท จากภาพรวม 9 ลักษณะ ประเภทที่ 1 คือ การเรียนรู้ตนเองซึ่งสะท้อนจาก 3 ลักษณะ ได้แก่ 1.1) ส่องใจตนเอง ส่องการเรียนรู้ของตนเองได้ยั่งยืน 1.2) ข้อผิดพลาดกลับเป็นบทเรียน 1.3) ภาคภูมิใจ ได้รับการยอมรับ ประเภทที่ 2 คือ เรียนรู้ทางการพยาบาล ซึ่งสะท้อนจาก 4 ลักษณะ 2.1) หนึ่งคน 2 หัวใจ 2.2) กล้าคิดกล้าแสดงออก 2.3) ตรวจครรภ์เป็น เน้นวิเคราะห์ 2.4) แม่คำเดียวที่เหมือนกันแต่แตกต่างกัน และประเภทที่ 3 คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ ซึ่งสะท้อนจาก 2 ลักษณะ 3.1) ผู้ให้คำแนะนำ คำปรึกษา 3.2) มิตรภาพวิชาชีพ
ควรนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้สอนภาคปฏิบัติทั้งสาขาการพยาบาลและสาชาวิชาอื่นโดยส่งเสริมนักศึกษาได้มีการสะท้อนคิดในทุกวันของการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตนเอง วิเคราะห์ วิพากษ์ตนเองได้อย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการคิดและทำให้เกิดทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ที่ยั่งยืน สามารถก้าวสู่ความเป็นบัณฑิตพยาบาลที่สมบูรณ์ได้
References
Choocharn, N., Kowpairoj, P., & Kaewdounglek, S. (2018). Research Report Survey of Graduate Users' Satisfaction on the Quality of Graduates Who Graduated in the Academic Year 2017, Kuakarun Faculty of Nursing. Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. (In Thai)
Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth Generation Evaluation. Newbury Park, CA: Sage Publications.
Institute of Policy and Higher Educational Planning. (2018). Higher Education Development Plan 20 Years 2018-2037. Retrieved June 3, 2020 from http://www.mua.go.th/users /bpp/main/download/plan/plan20yrs.pdf.
Khiaolueang, D., Kaewurai, W., Hingkanon, P., & Viboonrangsun, S. (2013). The Development of the Thought Reflection Learning Model to Enhance Ethical Decision-Making in Nursing for Student Nurses. Journal of Education Naresuan University, 15(4), 9-21. (In Thai)
Kolb, D. A. (2014). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. New Jersey: FT press.
Kuakarun Faculty of Nursing. (2012). Bachelor of Nursing Science Program (2012). Bangkok: Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University. (In Thai)
Lutz, G., Roling G., Berger, B., Edelhäuser, F., & Scheffer, C. (2016). Reflective Practice and its Role in Facilitating Creative Responses to Dilemmas Within Clinical Communication-a Qualitative Analysis. BMC Medical Education, 16, 301-309.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Source Book (2nd ed.). Thousand Oaks: SAGE.
Mueannadon, R., Tirapaiwong, Y., Srichairattanakull, J., & Yutthayong, S. (2019). Learning Development through Reflection. Journal of Health and Nursing Research, 35(2), 13-25. (In Thai)
Na Nakorn, P., Jamjuree D., Junhavat, D., & Boonprakob, M. (2016). The Study of Learning Management Through Reflection for Developing a Critical Thinking Process in Nursing Students. Ramathibodi Nursing Journal, 22(2), 206-221. (In Thai)
Naiyapatana, O. (2011). Research Design: Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods Approaches (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
Office of the Education Council. (2018). National Education Plan 2018-2036. Retrieved August 12, 2020 from http://www.onec.go.th/index.php/page/category/CAT0000018.
Panich, W. (2012). Learning Methods for Students in 21st Century. Bangkok: Sodsri-Salidiwong Foundation. (In Thai)
Sawangchit, S., Kanglee, K., & Klinchet, N. (2019). Effects of Using Instructional Model Using Process of Group Teaching Through Reflection to Enhance Academic Achievement and Critical Thinking Skills and Problem Solving for Nursing Students of The Royal Thai Army Nursing College. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(3), 333-342. (In Thai)
Sirisupluxana, P. (2013). Teaching Nursing Students to Develop Critical Thinking Skills. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, 19(2), 5-19. (In Thai)
Thano, P., & Wisanskoonwong, P. (2020). The Effect of Learning through Reflective Thinking on Metacognition of Nursing Students in the Delivery Room. Journal of the Police Nurses, 12(2), 398-408. (In Thai)
Thanormchayathawat, B., Vanitsuppavong, P., Niemted, W., & Portjanatanti. N. (2016). 21st Century Skills: A Challenge for Student Development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(1), 208-222. (In Thai)
Wisanskoonwong, P., Fahy, K., & Hastie, C. (2011). Reflections on the Practice of Facilitating Group-Based Antenatal Education: Should A Midwife Wear A Uniform in the Hospital Setting?. International Journal of Nursing Practice, 17(6), 628-35.
Wisanskoonwong, P., & Sawangtook, S. (2013). Learning Through Reflective Practice of Nursing Students in the Delivery Room: A Qualitative Research. Kuakarun Journal of Nursing, 22(2), 57-70. (In Thai)
Yin, R. K. (2003). Case Study Research: Design and Methods (4th ed.). Thousand Oaks, California: SAGE Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้