ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานกรณีเด็กจมน้ำในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลคลองฉนาก จ.สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา จันทรา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ลัดดา เรืองด้วง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองฉนาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ชุลีพร หีตอักษร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้, การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน, เด็กจมน้ำ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีเด็กจมน้ำต่อความรู้และการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีช่วยเด็กจมน้ำของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองฉนาก จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีเด็กจมน้ำ ใช้วิธีการเรียนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEPs) เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีช่วยเด็กจมน้ำ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีช่วยเด็กจมน้ำ แบบประเมินความพึงพอใจ หาคุณภาพของแบบสอบถามโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านประเมินดัชนีความสอดคล้องพบว่า ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า .67 ได้ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ได้ค่าคูเดอร์ริชาร์ดสัน-21 เท่ากับ .65  แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีช่วยเด็กจมน้ำ และแบบประเมินความพึงพอใจได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .87 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า

ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทักษะปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีเด็กจมน้ำสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีเด็กจมน้ำอยู่ในระดับมาก

ควรนำโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีเด็กจมน้ำของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไปขยายในสถานที่อื่น ๆ ที่มีบทริบทเป็นพื้นที่ริมน้ำใกล้เคียงกับตำบลคลองฉนาก จ.สุราษฎร์ธานี

References

Bureau of Non-Communicable Diseases. (2019). Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Retrieved August 10, 2019 from http://www.thaincd.com. (in Thai)

Bureau of the Budget. (2015). Fiscal Year 2013 Evaluation Report on the Village Public Health Volunteer Project (Or Sor.). Proactive. Retrieved December 15, 2013 from http://www.bb.go.th/iWebTemp/25590104/yea4md55x5055sj1j0ktepbp122645.PDF. (in Thai)

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Dechakub, P. & Yindeesuk, P. (2014). 21st Learning. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher.

Department of Disease Control. (2022). 189 Thai Children Do Not Go Back to School Because of Drowning. Highest Incidence in Summer. Retrieved December 10, 2022, from https://ddc.moph.go.th/odpc7/news.php?news=24402&deptcode=odpc7&news_views=695. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Khaemmanee, T. (2017). Teaching Science. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

Parasuraman, V. A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Qualityand Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41-50.

Sakcharoen, P. (2015). Adult Learning Theory and Self-Directed Learning Concept: Learning Process for Promoting Lifelong Learning. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 16(1), 8-13. (in Thai).

Sanprasan, P., Wattradul, D., Jamsomboon, K., Puapairoj, V., Techangkul, L. & Yuyuen, Y. (2015). Effects of Health Volunteer’s Capacity Building Based on Participating Learning Program on Knowledge and Skill of Caring Patients with Cardiovascular Disease and a Risk Group of Cardiovascular Disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 26(1), 119-132. (in Thai).

Sarakshetrin, A., Chantra, R., Kwanshom, R., & Ruangdoung L. (2017). The Effects of Using Health Behavior Changing Program (Food, Exercise, Emotion, Smoking, and Alcohol Cessation) among Village Health Volunteers at Klongchanak, Muang District, Suratthani Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 253-264. (in Thai)

Thitprasert, R. (2017). Community Participation in Action for Prevention of Drowning Deaths in Children Under 15 Years, Bo Kaew Subdistrict, Naku District, Kalasin Province. Retrieved October 23, 2019 from http://203.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php?ResID=821.

Tooltham, J. & Tooltham, K. (2016). Learning Management with Demonstration Model to Increase Learning Achievement and Practical Skills in Using Oscilloscope of Bachelor’s Degree in Computer Engineering. RMUTT Journal of Humanities and Social Sciences, 3(2), 45-54. (in Thai).

World Health Organization. (2014). The Global Report on Drowning. Retrieved August 10, 2019 from http://www.lifesaving.bc.ca/sites/default/files/ WHO_Report_on_Drowning_-_November_17_2014.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-26