ผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันต่อระบบประสาทอัตโนมัติ และอารมณ์ความรู้สึก

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ แพะขุนทด สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศุภะลักษณ์ ฟักคำ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วินัย สยอวรรณ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

น้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน, ระบบประสาทอัตโนมัติ, อารมณ์ความรู้สึก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลและเปรียบเทียบการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชั้นกับการสูดดมกลิ่นน้ำมันอัลมอนด์ต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และอารมณ์ความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรและนักศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำนวน 40 คน คัดเลือกแบบเจาะจง และทำการสุ่มแยกกลุ่มที่มีความเสมอเหมือน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมสูดดมน้ำมันหอมระเหยอัลมอนด์ จำนวน 20 คน และกลุ่มทดลองสูดดมน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ แบบบันทึกสัญญาณชีพ แบบบันทึกอารมณ์ความรู้สึกหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามวิธีของครอนบาค .847 สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-Square สถิติ Paired  t-test และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า

หลังการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชั้นและการสูดดมกลิ่นน้ำมันอัลมอนด์ มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการเปรียบเทียบการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชั้นกับการสูดดมกลิ่นน้ำมันอัลมอนด์ ต่อความอารมณ์ความรู้สึกและการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติไม่แตกต่างกัน

น้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันสามารถช่วยลดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจรวมถึงการนำไปใช้ในการผ่อนคลาย ควรพิจารณานำไปใช้ร่วมในการบำบัดทางการแพทย์

References

Ahlstrom, R., Berglund, B., Lindvall, L., & Tengen, T. (1987). A Comparison of Odor Perception in Smokers, Non Smokers and Passive Smoker. American Journal of Otolaryngology, 8(1), 1-6.

Sukhonthasan, A. (2020). Thai Blood Pressure Association, Guidelines on the Treatment of Hypertension. Trickthink. Chiang Mai. (In Thai)

Changtam, C. (2015). Usefulness and Various Biological Activities of Curcuma Longa L. Division of Physical Science, Faculty of Science and Technology, Huachiew Chalermprakiet University. Jouenal Science Techno. Huachiew Chalermprakiet, Samutprakarn, 1(2), 94-109. (In Thai)

Department of Medical Sciences. (2016). Thai Herbal Pharmacopoeia. Agricultural Co-Operative Federation of Thailand. Bangkok. (In Thai).

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. Academic Press. New York.

Ali, B., Ali N., Wabel, A., Shams, S., Ahamad, A., Khan, A. S. et al. (2015). Essential Oils Used in Aromatherapy: A Systemic Review. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine. 5(8), 601-611.

Godzilla, V., Pietsch, J., Witt, M., & Hummel, T. (2010). Theophylline Induces Changes in the el Etro-Olfactogram of the Mouse. Europesn Archives of Oto-Rhino-Laryngology, 267(2), 239-243.

Glass, G., V. (1976). Primary, Secondary, and Meta-Analysis of Research. Educational Researcher, 5(10), 3-8.

Hongratanaworakit, T. (2009). Relaxing Effect of Rose Oil on Humans. Natural Product Communications, 4(2), 291-296. (in Thai)

Hongrattanaworakit, T. (2012). Essential Oils and Therapeutic Use Aromatherapy. Nakhon Nayok Faculty of Pharmacy Srinakharinwirot University. (in Thai)

Prasad, S., Gupta, S. C., Tyagi, A. K., & Aggarwal, B. B. (2014). Curcumin, a Component of Golden Spice: from Bedside to Bench and Back. Biotechnol Adv, 32(6), 1053-1064.

Piaew, N. (2015). Effects of Inhalation of Lavender Oil on Stress Reduction. And Brainwaves of Teenage Girls. Faculty of Sports Science Chulalongkorn University. Journal of Sport Science and Health, 16(2), 63-67. (in Thai)

Saengprateepthong, W. (2010). Training Document for Writing and Analysis of Achievement Examination Unit 4 in Education. Nonthaburi: Faculty of Education, Sukhothai Thammathirat Open University. 32. (in Thai)

Sayorwan, W. (2011). Effects of Selected Volatile Oils Commonly Used in Thailand on Physiological Activities and Emotions. The Degree of Doctor of Philosophy Program in Public Health Science. College of Public Health Sciences. Chulalongkorn University. (In Thai)

Sayorwan, W., & Bunpein, A. (2018). The Comparative Effect of Inhaling Kaffir Lime Oil and Rosemary Oil on aAutonomic Nervous System and Driver Test Game. Journal of Health Science Research, 12(1), 62-65. (In Thai)

Thanirat, T. (2007). Academic Textbook of Sukhonthon Badam. Printing House of the War Veterans Organization of Thailand Bangkok. (In Thai)

Wallisu, O. (2020). Aromatherapy. Article Disseminating Knowledge to the Public. Retrieved Mrach 27, 2020 from https://www.pharmacy.mahidol.ac.th (Aromathe). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31