ความจำเป็น กลุ่มเสี่ยง และการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยง จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

ผู้แต่ง

  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก
  • นพมาส เครือสุวรรณ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โคโรนาไวรัส, กลุ่มเสี่ยง, ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยง, การกักตัว

บทคัดย่อ

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสนั้นเป็นปัจจัยที่คุกคามการดำรงชีวิตของมนุษย์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)  ถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายการดำเนินงานในระบบสุขภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ ความจำเป็นในการกักตัว ผู้ถูกกักตัว รวมถึงการดำเนินการการดำเนินการเปิดเป็นศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงนอกพื้นที่สถานสถานพยาบาล พบว่า การกักตัวกลุ่มเสี่ยงเป็นมาตรการที่ควรนำมาใช้ในช่วงระยะแรกของพื้นที่ที่มีการระบาดเพื่อที่จะได้ลดการสัมผัสและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยกลุ่มที่นำมากักตัวนั้นเป็นกลุ่มที่ไม่ป่วยมีโอกาสสัมผัสโรค ที่จำกัดการทำพฤติกรรม

การตั้งศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงนอกพื้นที่สถานสถานพยาบาล ประกอบด้วย 3 ระยะ ระยะที่ 1 ระยะการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดศูนย์ ควรพิจารณาในเรื่องสถานที่ การดำเนินการ และระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการเปิดศูนย์กักตัวกลุ่มเสี่ยง ระยะที่ 2 ระยะระหว่างการดำเนินงานการที่ต้องเน้นการเฝ้าระวังการติดเชื้อ ความร่วมมือในการปฏิบัติตามของกลุ่มเสี่ยง และมาตรฐานการการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ และระยะที่ 3 ระยะปิดศูนย์กักตัวกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเน้นมาตรฐานการทำความสะอาดและการคืนข้อมูลกลับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงนอกพื้นที่สถานสถานพยาบาลถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมาตราการทางด้านสาธารณสุขในการควบคุมการสัมผัสระหว่างกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ติดเชื้อได้ COVID 19 ส่งผลให้ลดการปัญหาการระบาดลงได้เป็นอย่างดี

References

Chowell, G., Fenimore, P. W., Castillo-Garsow. M. A., & Castillo-Chavez, C. (2003). SARS Outbreaks in Ontario, Hong Kong and Singapore: The Role of Diagnosis and Isolation as a Control Mechanism. Journal Theor Biol, 224(1), 1-8.

Department Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). Guideline to Setting Up Local Quarantine: Traveler Who Come Back from High Risk Areas 5 March 2020. Retrieved May 17, 2020 from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G_other_01_2.pdf (in Thai)

Department of Medical Service, Ministry of Public Health. (2020). Guideline on Personal Protective Equipment (PPE) Update April 20 2020. Retrieved May 22, 2020 from https://pidst.or.th/A888.html

Emergency Operation Center Nonthaburi. (2020). Situation and Supporting on COVID-19 Outbreak in Nonthaburi, Nonthaburi Provincial Public Health Office. Retrieved April 22, 2020 from https://ssjnonthaburi.moph.go.th/nont/

Lauer, S. A., Grantz K. H., Bi, Q., Jones, F.K., Zheng, Q., Meredith, H. R., et al. (2020). The Incubation Period of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) from Publicly Reported Confirmed Case: Estimation and Application. Ann Intern Med, 172(2), 577-582.

McCall, C. M., Nunan, D., & Heneghan, C. (2020). Is a 14-Day Quarantine Effective Against the Spread of COVID-19?. Oxford University 6 April 2020. Retrieved May 17, 2020 from https://www.cebm.net/covid-19/is-a-14-day-quarantine-effective-against-the-spread-of-covid-19/.

Morens, M. D., & Fauci S. A., (2013). Emerging Infection Disease: Threats to Human Health and Global Stability. PLOS Pathogens, 9(7), 1-3.

Petersen, E, Petrosillo, N., & Koopmans, M. (2017). The ESCMID Emerging Infections Task Force Expert Panel. Emerging infection - an Increasingly Important Topic: Review by the Emerging Infections Task Force. Clinical Microbiology and Infection, 24(1), 369-375.

World Health Organization1, (2020). Coranavirus. Retrieved April 30, 2020, from https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1;

World Health Organization2, (2020). Considerations for Quarantine of Individuals in the Context of Containment for Coronavirus Disease (COVID-19) 19 March 2020. Retrieved May 7, 2020 from https://www.who.int/publications-detail/considerations-for-quarantine-of-individuals-in-the-context-of-containment-for-coronavirus-disease-(covid-19)

World Health Organization, (2020). Statement on the Second Meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee Regarding the Outbreak of Novel Coronavirus (2019-nCoV). In: World Health Organization/Newroom. Geneva (COVID-19) 30 January 2020. Retrieved May 7, 2020 from https://www.who.int/news-room/detail/30-01-2020-statement-on-the-second-meeting-of-the-internationalhealth-regulations-(2005)-emergency-committee-regarding-the-outbreak-of-novel-coronavirus-(2019-ncov)

Yan, X., & Zou, Y. (2008). Optimal and Sub-Optimal Quarantine and Isolation Control in SARS Epidemics. Mathematical and Computer Modelling, 47(1), 235-245.

Yan, X., Zou, Y., & Li, J. (2007). Optimal and Sub-Optimal Quarantine and Isolation Control. World. Journal of Modelling and Simulation, 3(3), 202-211.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-02