จิตตปัญญาศึกษา: กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการเขียนบันทึก

ผู้แต่ง

  • กรศศิร์ ชิดดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • หยาดชล ทวีธนาวนิชย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • ผุสดี สระทอง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ฟูซียะห์ หะยี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

จิตตปัญญาศึกษา, กระบวนการเรียนรู้, การเขียนบันทึกแบบสะท้อน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมายของจิตตปัญญาศึกษา การสะท้อนคิด และการเขียนบันทึก กระบวนการเรียนรู้ประยุกต์ใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการเขียนบันทึก กระบวนการเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้ 3 ประการคือ 1) กระบวนการสุนทรียสนทนาการสร้างความเข้าใจของคนที่เข้าร่วมมีความสนใจในการเรียนรู้ร่วมกัน 2) กระบวนการฟังอย่างลึกซึ้ง การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) คือ การฟังโดยไม่ตัดสินถูกผิดด้วยความคิดเห็นของตนเอง 3) กระบวนการสะท้อนการเรียนรู้ของกิบส์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบรรยาย (Description) 2) ความรู้สึก (Feelings)  3) การประเมิน (Evaluation) 4) การวิเคราะห์ (Analysis) 5) การสรุป(General Conclusions) 6) การวางแผนปฏิบัติในอนาคต (Personal Action Plans) ทั้งนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของการสื่อสารและเชื่อมโยง (Communion and Connection) และ การตื่นรู้ (Awareness) ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ตามแผนภาพ The Tree of Contemplative Practices เพื่อพัฒนา ด้านพลังชีวิตและการกระทำ (Willing and Doings) การเรียนรู้ด้านความรู้สึก (Feeling) และการเรียนรู้การคิดและตัดสินใจ (Thinking and Judging) จัดตารางการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ 3 H คือ มือ/กาย (Hands) ใจ (Heart) และ หัว (Head) สำหรับการประเมินผลจากบันทึกการเรียนรู้โดยการเขียนบันทึก หลังจากให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้สึกใช้ประสบการณ์เดิมมาช่วยในการวิเคราะห์และสรุปรวบยอดจากการคิดวิเคราะห์โดยใช้เหตุผลเพื่อวางแผนปฏิบัติตนในอนาคต จากความเชื่อว่าผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์ในเชิงรูปธรรมเสียก่อน จากนั้นจึงคิดใคร่ครวญต่อประสบการณ์นั้น ๆ ผ่านแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งจากการสังเกตอย่างใคร่ครวญมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงภายในตนเป็นวิธีการที่ทำให้ได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตนที่เรียกว่า การสะท้อนความคิดโดยสามารถแสดงออกได้ทั้งการพูดและการเขียนบันทึก และการสะท้อนการเรียนรู้ด้วยตนเองและกลุ่ม

References

Chiddee, K. (2016). Development of Learnning Management Model on Health Promotion and Illness Prevention Based Upon Complative Education Concept For Health Behavior Modification and Emotional Quotient Enhancement of Nursting Students. Dissertation, Ed. D. Health Education and Physical Education. (Health Education Management) Srinakharinwirot (In Thai)

Nopakhun, C. (2018). Reflections of Thought Through a Picture Book of Early Childhood Education Students. Suan Dusit University Graduate School Journal Suan Dusit University, 14(3).

Gibbs, G. (1988). Learning by Doing: A Guide to Teaching Learning Methods. Oxford: Oxford Brookes University.

Kamthorn, L. (2018). Teaching Management by Means of Reflective Thinking. Retrieved 2020, April 10 from https://www.gotoknow.org

Lueboonthawatchai, O. (2010). Health Consultation. Bangkok: Chulalongkorn University. Printing House. (In Thai)

Mungnadon, R. (2019). Learning Development Through Reflection, Learning Development through Reflection, Journal of Health and Nursing Research, 35(2).

Phairotangsutorn, T. (2016). Contemplative Education (Theory): Contemplative Education Retrieved 2020, April 10 from https://www.runwisdom.com

Poolpatchewin, C. (2010). Crystallization and Explosion of Experience in Cognitive Education and Practice. Retrieved 12 March 2013, from http://jitwiwat.blogspot.com.

Poolpatchewin, C. (2012). Crystallization and Experience Explosion: In Intellectual Contemplation and Contemplative Practice. Retrieved October 29, 2015, from http://jitwiwat.blogspot.com.

Thongtavee, C. (2008). Annual Conference on Intellectual Psychology Education for Human Development, The Center for Intellectual Education Mahidol University. Bangkok: (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-06