รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วม ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ถนอมศักดิ์ บุญสู่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • อรรณพ สนธิไชย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปณิตา ครองยุทธ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การจัดการความปลอดภัยทางถนน, การมีส่วนร่วมรูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี เก็บข้อมูลจาก การสังเกต การทดสอบ การสัมภาษณ์ การบันทึกกิจกรรมการประชุม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบที่ได้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  กลุ่มผู้ร่วมวิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มนักพัฒนา จำนวน 165 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และPaired Simples t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. สถานการณ์ปัญหาความปลอดภัยทางถนน เด็กการเดินทางมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับผู้ปกครองโดยส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 86.49 พฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่มารับส่งเด็ก ไม่สวมหมวกกันน็อคร้อยละ 62.82 และเด็กที่โดยสารมาไม่สวมหมวกกันน็อค ร้อยละ 96.28 ความรู้ของครูด้านความปลอดภัยทางถนนต่อการนำไปสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กอยู่ในระดับปานกลาง (M=10.50, SD=1.67) ในปีการศึกษาที่ผ่านมามีอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์เด็กเสียชีวิต 1 คน จุดเสี่ยงสำคัญบริเวณรอบสถานศึกษามีจำนวน 3 จุด

2. รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี คือ 6 ก. สู่ความปลอดภัยทางถนน ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความสัมพันธ์เพื่อสร้างความร่วมมือ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสถานการณ์อุบัติเหตุในพื้นที่ ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดเป้าหมายร่วมในการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบกิจกรรมการลดอุบัติเหตุทางถนน ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินกิจกรรมการลดอุบัติเหตุทางถนนร่วนกัน และขั้นตอนที่ 6 การประเมินสะท้อนผลลัพธ์

3. ผลจากการใช้รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วม พบว่า มีการจัดการจุดเสี่ยงจำนวน 3 จุด การสวมหมวกกันน๊อคของเด็กและผู้ปกครอง ร้อยละ 100 ความรู้ของครูด้านความปลอดภัยทางถนนต่อการนำไปสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กอยู่ในระดับดี (M=18.95, SD=1.32) กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 98.50 มีความพึ่งพอใจต่อรูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน ส่งผลให้สถานศึกษาแห่งนี้ได้รับยกย่องให้เป็นศูนย์เด็กเล็กต้นแบบจากคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับประเทศ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่าง ๆ มากกว่า 50 แห่งจากทั่วประเทศ

ควรนำรูปแบบ 6 ก. สู่ความปลอดภัยทางถนน  ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือโรงเรียนในพื้นที่อื่น ๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อปลูกฝังค่านิยมด้านความปลอดภัยทางถนนให้กับเด็ก ผู้ปกครองและชุมชน

References

Bangkok Business. (2019). The Power of the Community to Build a Safe Road. Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/854720 (in Thai)

Chantawanit, S. (1988). Data Analysis in Qualitative Research. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Chatripho, K., Boonsu, T., & Ngemwichit S. (2012). The Form of Measures to Create Road Safety with Participation. Academic Center for Road Safety. Road Safety Policy Foundation. Bangkok. (in Thai)

Crane, P., & O’Regan, M. (2010). On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention. Department of Families, Housing, Community Services and Indigenous Affairs, Australian Government.

Ekakun, T. (2003). Research Methodology in Behavioral and Social Sciences. 3rd Edition, Ubon Ratchathani: Vidtaya Printing. (in Thai)

Kanjanasantisuk, C. (2009). Risk and Identification Analysis by Participation Methods of Community: A Case Study of Khon Kaen University. Master of Engineering Thesis. Faculty of Engineering. Khon Kaen University. (in Thai)

Chantawanit, S. (2003) Data Collection Methods in Qualitative Research. In the Qualitative Research Handbook for Development, Uthai Dulyakasem, Editor. 4th Edition: Research and Development Institute Khon Kaen University.

Chinawong, K. (2012). A Model for Creating a Road Safety Culture Through Participation of Pa Sak Sub-District, Muang District, Lamphun Province. Faculty of Agriculture Chiang Mai University. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2018). Death Data from Road Accidents in 2018. Ministry of Public Health. (in Thai)

Polpong, Nima & Petchuay, 2017 Development of Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Model with Community Participation. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(Special), 248-253.

Road Safety Academic Center. (2018). Process Driven Mechanism for the Establishment of 5 tools. Retrieved from www.roadsafetythai.org. (in Thai)

Setthasathien, A. (2011). Apply the Concept of the World Health Organization to the 5S Strategy for Accident Prevention Road According to the WHO Collaborating Center on Community Safety Promotion. Karolinska Institute, Sweden. (in Thai)

Somudon, T. (2011). Management of Dangerous Risk Points with Community Participation in the Case of Communities Around Kham Riang Campus of Maha Sarakham University. Master Degree of Engineering Thesis. Faculty of Engineering. Maha Sarakham University. (in Thai)

Srisaat, B. (2010). Preliminary Research. 8th Edition, Bangkok: Suwiriyasarn. (in Thai)

Tatsiwat, C. (2009). Participatory Action Research (PAR): A New Dimension of Research Methodology for Local Community Development. Master of Arts Thesis. Graduate school. Ramkhamhaeng University. (in Thai)

Thailand Development Research Institute. (2017). Road safety. Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/854720 (in Thai)

Ubon Ratchathani Provincial Health Office. (2018). Data of the Three Accident Bases in Ubon Ratchathani Province 2018. Ubon Ratchathani Province. (in Thai)

Wannarat, W. (2017). Test Scores and Grade Cuts. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapruek University, 2(3), 4-9. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-07