กรณีศึกษา: การหาสาเหตุการบาดเจ็บจากรถตู้โดยสารประจำทางชนต้นไม้ จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • นันทพร กลิ่นจันทร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • นันทนา ศุภศรี สำนักงานขนส่งจังหวัดพัทลุง
  • อาซิป อูเซ็ง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • เอกอร สว่างนิพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

กรณีศึกษา, การหาสาเหตุ, การบาดเจ็บจากการจราจร, รถตู้โดยสารประจำทาง

บทคัดย่อ

การหาสาเหตุการบาดเจ็บจากรถตู้โดยสารประจำทางชนต้นไม้ จังหวัดพัทลุง ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาการบาดเจ็บ ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต และหาข้อเสนอแนะการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากรถตู้โดยสารประจำทางชนต้นไม้ ศึกษาในกลุ่มประชากรประกอบด้วยผู้ประสบเหตุการณ์ ผู้เห็นเหตุการณ์ ญาติผู้บาดเจ็บ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้บาดเจ็บ ณ วันที่เกิดเหตุการณ์ จำนวน 24 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจร โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลการบาดเจ็บจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล ร่วมกับสำรวจสถานที่เกิดเหตุ และสำรวจสภาพรถ วิเคราะห์การบาดเจ็บ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สรุปข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านคน ยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อม โดยประยุกต์แนวคิด Haddon’s Matrix ผลการวิจัยพบว่า

เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับพาหนะ 2 คัน มีผู้ประสบเหตุ 15 ราย เป็นผู้ขับขี่รถกระบะ 1 ราย และผู้ขับขี่ และผู้โดยสารรถตู้โดยสารประจำทาง 14 ราย (บาดเจ็บ 13 ราย และเสียชีวิต 1 ราย) อัตราการบาดเจ็บร้อยละ 93.3 อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 6.7 อุบัติเหตุเกิดจากรถกระบะเสียหลักชนรถตู้ประจำทาง ทำให้รถตู้โดยสารชนต้นไม้ในร่องกลางถนนทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงด้านคน ได้แก่ ขับรถด้วยความเร็ว รถเข้าเลนขวากระทันหัน ผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และกระเด็นออกจากรถ ปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ ได้แก่ เข็มขัดนิรภัยหลุดจากที่นั่ง  โครงสร้างรถเสียหาย ผู้โดยสารติดภายในรถ และปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สภาพถนนเปียก มีต้นไม้บริเวณร่องเกาะกลาง รถชนต้นไม้ ถนนเส้นนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย และเข้าถึงที่เกิดเหตุลำบาก

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มมาตรการความปลอดภัยภายในรถโดยสารสาธารณะ เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเรื่องการคาดเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารรถตู้โดยสารประจำทาง ควรมีมาตรการในการจัดการต้นไม้บริเวณร่องกลางถนนในเขตปลอดภัยข้างทาง 

References

Announcement of the Department of Land Transport. (2017). Regarding the Layout of Public Passenger Van Seats as a Measure to Increase Safety in Public Transport 2017. (2017, 5 April). Government Gazette. Book 134 Special 98 Ngor. page 22-27. Retrieved from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/098/22.PDF (in Thai)

Barss, P., Barss, S. B. M., Smith, G. S., Mohan, D., & Baker, S. P. (1998). Injury Prevention: an International Perspective Epidemiology, Surveillance, and Policy. Oxford University Press, USA.

Barnett, D. J., Balicer, R. D., Blodgett, D., Fews, A. L., Parker, C. L., & Links, J. M. (2005). The Application of the Haddon Matrix to Public Health Readiness and Response Planning. Environmental Health Perspectives, 113(5), 561-566.

Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Liberal Arts Review, 13(25), 103-118. (in Thai)

Department of Disease Control. (1995). Bureau of Epidemiology. Condensed Chart (AIS 85). Bangkok: War Veterans Organization Printing. (in Thai)

Holder, Y., Peden, M., Krug, E., Lund, J., Gururaj, G., & Kobusingye, O. (2001). Injury Surveillance Guidelines. Geneva, World Health. Organization. Retrieved from https://www.who.int/violence_injury_prevention/media/en/136.pdf

Klinjun, N. (2015). In-Depth Investigation of Road Injuries and Deaths. Songkhla: Thirawat Copy Center. (in Thai)

Klinjun, N., Chinwong, D., & Sleigh, A. (2017). Epidemiology of Multiple Casualty Incidents from Road Accidents in Thailand, 2006-2011. OSIR Journal, 10(4), 1-8.

National Council for Peace and Order Statement. (2017). Regarding Measures to Increase the Safety of Public Transport. (2017, 21 March). Government Gazette. Book 134 Special 85 Ngor. Page 40-42. Retrieved from https://library2.parliament.go.th/giventake/content_ ncpo/ncpo-head-order15-2560.pdf (in Thai)

Ponboon, S., Kanitpon, K., Boontob, N., Aniwatkulchai, P., & Kushari, B. (2010). Roadside Hazards from the Accident In-Depth Study. Naresuan University Engineering Journal, 5(1), 9-16. (in Thai)

Road Safety Group Thailand. (2018). Situation of Public Bus Accidents. Retrieved June 12, 2020 from http://www.roadsafetythai.org/edoc/doc_20181207124103.pdf (in Thai)

Robertson, L. S. (1998). Injury Epidemiology Research and Control Strategies (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press, USA.

Sornkaew, P. (2017). The Study of Influent Factors on Injury and Fatality of Bus Rollover Accident. (The Degree of Master of Engineering in Transportation Engineering). Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima. (in Thai)

Taneerananon, P. (2006). Engineering Safer Roads. Songkhla: Lim Brother Printing Co., Ltd. (in Thai)

Waiyanate, N. (2006). Road Traffic injury Investigation. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control. (in Thai)

World Health Organization. (2001). Injury Surveillance Guidelines. (No. WHO/NMH/VIP/01.02). Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (‎2006)‎. Road Traffic Injury Prevention: Training Manual. Geneva: WHO. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/43271

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-01