ประสิทธิผลของหนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษาต่อความรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
หนังสือการ์ตูน, เอกสารประกอบการเรียน, ทันตสุขศึกษา, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เป็นการศึกษาแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษาต่อความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการได้รับความรู้จากหนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษา และเพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มทดลองที่มีต่อหนังสือการ์ตูนให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 60 คน ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 39 จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนบ้านบางยาง จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษา และเอกสารประกอบการเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความรู้ มีค่าคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR20) เท่ากับ .84 และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น Cronbach's Alpha เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มทดลอง หลังการได้รับความรู้จากหนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษา (M=17.20, SD=3.40) สูงกว่าก่อนการได้รับความรู้ (M=10.93, SD=3.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001)
2. คะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการให้ความรู้ (M=17.20, SD=3.40) และหลังการให้ความรู้ 2 สัปดาห์ (M=16.80, SD=4.16) ซึ่งไม่แตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มควบคุม หลังการได้รับความรู้จากเอกสารประกอบการเรียน (M=16.30, SD=3.03) และก่อนการได้รับความรู้ (M=15.73, SD=2.88) ซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน และคะแนนเฉลี่ยความรู้ หลังการได้รับความรู้ (M=16.30, SD=3.03) สูงกว่าหลังการให้ความรู้ 2 สัปดาห์ (M=15.20, SD=2.95) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.014)
3. ความคิดเห็นที่มีต่อหนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษาของกลุ่มทดลอง อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.58, SD=0.63) และเอกสารประกอบการเรียนเรื่องทันตสุขศึกษา
หนังสือการ์ตูนทันตสุขศึกษา สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนความรู้เรื่องทันตสุขศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ และใช้เป็นแนวทางในการทำสื่อหนังสือการ์ตูนให้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.
Bloom, B. S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill.
Bureau of Dental Health, Department of Health. (2013). Report on the 7th National Dental Health Survey. Bangkok: WVO (War Veterans Organization) Officer Printing Mill. (in Thai)
Bureau of Dental Health, Department of Health. (2017). Report on the 8th National Dental Health Survey. Bangkok: Samcharoen Panich (Bangkok) Co., Ltd. (in Thai)
Chomchome, U., Pranprawit, A., & Kaewpan, W. (2017). The Effects of Dental Health Education Program on Behavioral Modification for Gingivitis Prevention Among the Six Grade Students in Phunphin District, Suratthani Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 234-251. (in Thai)
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Jampakaew, A., Angwerotwit, A., & Sittiwong T. (2014). The Development of the Comic Book to Promote Conceptual Understanding in the Effect of the Sun and the Moon on the Earth for Mong Students in
Pratomsuksa VI Students. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 11(54), 181-191. (in Thai)
Kupitayanant, M., & Sriviriyakul, S. (2012). Oral Health Promotion: Gate to Good Health in Every Lifetime. Bangkok: WVO (War Veterans Organization) Officer Printing Mill. (in Thai)
National Statistical Office. (2016). The Reading of Population Survey 2015. Retrieved June 2, 2018 from http://service.nso.go.th/. (in Thai)
Phangpong, R. (2011). A Study on Scholastic Achievement and Learning Retention of Grade 5 Students with Hearing Impairment on Live Beings and Live Existence Processes through POSSE Strategy and Video. Journal of Educational Research Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 7(1), 85-94. (in Thai)
Phonthao, W., & Banchonhattaki, P. (2014). The Effects of Dental Health Education Program by Using Multimedia Assisted Instruction for Preventive Dental Caries and Gingivitis Behavioral Modification among Primary School Students, Nonsang District, Nongbualamphu Province. Thai Dental Nurse Journal, 25(2), 75-88. (in Thai)
Prasertsom, P., Ungchusak, C., Leelasithorn, S., & Jirapongsa, W. (2015). Development of Evidence-based Planning’s Process to Improve Children Oral Health (2553-2554). Thai Dental Public Health Journal, 17(1), 20-34.
Sripakho, P., Phuphaibul, R., & Kongsaktrakul, C. (2013). The Effects of the Life Skills Development Program Using Cartoon Books Media on Life Skills Among Grade Five Students. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 14(1). 71-84. (in Thai)
Suksamran, A. (2012). Construction of Supplementary Cartoon Books on Fractions for Prathom Suksa 5 Students, Wat Amarintraram School, Bangkok. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai)
Tanboon, S. (2015). The Development of Science Learning Achievement and Conceptual Thinking Ability of Students in Mattayom 4 Taught by Inquiry Teaching Method (5E) with the Concept Mapping. SKRU Academic Journal, 8(1), 55-65. (in Thai)
Trang Educational Service Area 1. (2018). Big Data: Number of Students under Trang Educational Service Area 1 (Academic Year 2018). Trang: Trang Educational Service Area 1. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้