การพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

ผู้แต่ง

  • ศุลีพร เพชรเรียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

การพัฒนาองค์กรแห่งความสุข, บุคลากร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความสุขของบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพความสุขบุคลากรภายในวิทยาลัยจำนวน 127 คนโดยใช้เครื่องมือ Happinometer และการสัมมนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา โดยนำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขฯ ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน และตรวจสอบความเป็นไปได้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรของวิทยาลัยฯ จำนวน 27 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าที (One Sample t-test) แล้วนำผลมาปรับปรุงแก้ไข ผลวิจัยพบว่า

1. ค่าคะแนนเฉลี่ย Happinometer หลังการดำเนินกิจกรรมสร้างสุขตามแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2562 เพิ่มขึ้น 7.22 และเพิ่มสูงสุดในมิติการผ่อนคลายดี เพิ่มขึ้น 16.60 สำหรับผลการสัมมนากลุ่มย่อยทั้ง 4 กลุ่ม ที่มีความเห็นตรงว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์สมควรดำเนินการต่อไป และให้เห็นตรงกันว่าบรรยากาศในวิทยาลัยมีความผ่อนคลายขึ้น เป็นเพราะความสัมพันธ์อันดีของบุคลากรทุกคนและผู้บริหารให้เกียรติให้ความไว้วางใจและร่วมแก้ปัญหาในการทำงาน พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนากิจกรรมเพื่อเพิ่มความสุขในวิทยาลัย

2. แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 7 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการสวัสดิการพื้นฐานเพื่อความสุขในที่ทำงาน 2) โครงการสร้างเสริมความสุข: ปลูกผักกินเอง 3) โครงการสุขภาพดีมีวิถีออกกำลังกาย 4) โครงการหนังสือหลากหลายวัย แต่ใจเดียวกัน 5) โครงการเสริมสร้างสุขภาพกีฬาสี “ดอกแก้วเกม” 6) โครงการปรับกระบวนทัศน์พัฒนาองค์กร (OD) 7) โครงการธรรมาภิบาลนำการบริหาร และผลการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 โครงการ พบว่า มีความเหมาะสม และผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ .01 จำนวน 29 ข้อ

ผู้บริหารวิทยาลัยฯ ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งความสุขภายใต้ ความเข้าใจ การแสดงออกต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และการสื่อสารที่ดีในองค์กร

References

Aujirapongpan, S., Ritkaew, S., Songkajorn, Y., & Jutidharabongse, J. (2019). Model for Enhancing Happiness of Personnel in the Autonomous University: A Case Study of Walailak University. Journal of Business Administration, 8(1), 63-77. (In Thai)

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.

Harris, H. (2018). Organization Happiness. Oxford Research Encyclopedia of Business and Management. Retrieved Aug 3, 2018 from https://oxfordre.com/business/business/ view/10.1093/acrefore/9780190224851.001.0001/acrefore-9780190224851-e-148.

Kitisuksatit, S., Tangchonthip, K., Jaratsit, S., Saipraserd, C., Boonyatreerana, P., & Aree, W. (2012). HAPPINOMETER: The Happiness Self Assessment, (1st ed) Mahidol University: Institute Population and Social Research.

Miller, W. L., & Carbtree, B. F. (1992). Primary Research: A Multifrethod Typology And Qualitative Rcad Map. In Carbtree, B. F. & Miller. W. L. (Eds.), Doi[g Qualitative Research (pp.3-28), Newburg Park: SAGE.

Monyupanao, A., & Zumitzavan, V. (2019). The Guideline for Developing a Happiness in the Organization: A Case Study from Military Unit. Panyapiwat Journal, 11(1), 262-272. (In Thai)

Nawsuwan, K., Chotibun, P., & Singsri, T. (2016). Identity of Nursing Students in Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. (In Thai)

Prasongthan, S. (2018). The Study of Happiness at Work and Factors Influencing Happiness at Work of Employees in Tourism and Hospitality Industry. Journal of Social Sciences Srinakarinwirot University, 21, 259-275. (In Thai)

Ramrong, T., & Ritmontri, S. (2019). Guideline for Create Happy Workplace Organization in Kasetsart University. Journal of Social Sciences and Humanities, 44(1), 185-208. (In Thai)

Strategy and Planning Division Ministry of Public Health. (2019). Guideline for Driving Happiness, Ministry of Public Health 2019-2020. Retrieved October 3, 2019 from http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Draft%20guidelines%20for%20driving.pdf (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-03