การพัฒนารูปแบบการจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ในหอผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาลยะลา

ผู้แต่ง

  • เอมอร ยอดรักษ์ โรงพยาบาลยะลา
  • ณัฏฐิกา แซ่แต้ โรงพยาบาลยะลา
  • สุรีพร ศิริยะพันธุ์ โรงพยาบาลยะลา
  • สุกันติมา ทวีทอง โรงพยาบาลยะลา

คำสำคัญ:

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง, ห่วงโซ่การรอดชีวิตในโรงพยาบาล, การจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยสามัญโรงพยาบาลยะลา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับหอผู้ป่วยสามัญ 3) ประเมินผลลัพธ์การจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับหอผู้ป่วยสามัญ ในโรงพยาบาลยะลา โดยมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การช่วยฟื้นคืนชีพ ตามแนวคิดห่วงโซ่การรอดชีวิตในโรงพยาบาล (In Hospital Cardiac Arrest; IHCA) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ดำเนินการสัมภาษณ์ในกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ แพทย์ใช้ทุน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มที่ 2 พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยสามัญ กลุ่มที่ 3 พยาบาลระดับปฏิบัติการในหอผู้ป่วยสามัญ กลุ่มที่ 4 พยาบาลระดับปฏิบัติการในหอผู้ป่วยหนักและ กลุ่มที่ 5 เจ้าหน้าที่ระดับสนับสนุนได้แก่ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ เสมียน คนงาน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าสัมภาษณ์โดยการสุ่มแบบแทนที่ จำนวน 39 คน ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) โรงพยาบาลยะลา โดยผู้วิจัยนำผลสรุปจากการสัมภาษณ์ในขั้นตอนที่ 1 มาสังเคราะห์แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับหอผู้ป่วยสามัญ ได้แนวปฏิบัติทั้งหมด 5 เรื่องย่อย ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด 5 ท่าน และดำเนินการยกร่างนโยบายกำหนดรูปแบบการจัดการทีมช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลยะลา ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้าสู่ระยะวิกฤติตามแนวทางการประเมินอาการเพื่อค้นหาสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้น (6H’s 6T’s) และหรือผู้ป่วยที่เข้าสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นแล้ว จำนวน 30 ราย เครื่องมือ   ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเชิงกระบวนการ ได้ค่าความตรง .85 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.68 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่า

1. สถานการณ์การจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยสามัญโรงพยาบาลยะลาพบว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น การเข้าทีมช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง พยาบาลไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ในแต่ละตำแหน่งของการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ญาติในช่วงภาวะหัวใจหยุดเต้น ญาติมีความต้องการทำกิจกรรมทางศาสนาทั้งศาสนาพุทธและอิสลามในระยะวิกฤตหรือระยะสุดท้าย การบันทึกข้อมูลขณะช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงไม่ครบถ้วน ไม่ครอบคลุม พบปัญหาเครื่องมือไม่มีความพร้อมใช้

2. รูปแบบการจัดการทีมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับหอผู้ป่วยสามัญโรงพยาบาลยะลาถูกออกแบบจากห่วงโซ่การรอดชีวิตในโรงพยาบาลสอดคล้องกับบริบทพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ชายแดนใต้ ให้อยู่ในรูปแบบของแนวปฏิบัติการพยาบาลการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยสามัญโรงพยาบาลยะลามี 5 เรื่องย่อย

3. หลังจากสื่อสารโดยอบรมเจ้าหน้าที่ทุกระดับ/ประชุมหัวหน้าหน่วยงานเพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ผลลัพธ์พบว่าผู้ร่วมวิจัยสามารถคัดกรองผู้ป่วยวิกฤตได้ถูกต้องครบถ้วนร้อยละ 91.70 และให้การดูแลเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยระยะวิกฤติได้ร้อยละ 72.90 สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการทีมช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงได้ร้อยละ 98.3 สามารถปฏิบัติการดูแลการให้ข้อมูลและคำยินยอมในผู้ป่วยวิกฤตได้ร้อยละ 87.50 สามารถปฏิบัติการดูแลตามหลักศาสนาในผู้ป่วยวิกฤตได้ ร้อยละ 82.30 และไม่พบอัตราการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยไม่ได้วางแผนในหอผู้ป่วยสามัญ

References

American Heart Association. (2017). About Cardiac Arrest. Retrieved November 20, 2017 from https://bit.ly/2PqcFxK.

Chanthai, K., Kittirukthakun, S., & Haruthai, C. (2008). Nursing Standard in Hospital. Bangkok: War Veterans Organization Printing. (in Thai)

Cooper, S., Janghorbani, M., & Cooper, G. (2006) A Decade of in-Hospital Resuscitation: Outcome and Prediction of Survival. Resuscitation, 68, 231- 237.

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.

Devlin. M. (1998). An Evaluative Study or the Basic Life Support Skill of Nurse in an Independent Hospital. Journal of Clinical Nursing, 8, 201-205.

Jitkueakun, Y., Chaisangkaew, I., Poolkaew, W., & Klomkeeree, R. (2018). Impact of Adjusted Cardiopulmonary Resuscitation Process on Return of Vital Sign and Spontaneous Circulation In Cardiac Arrest Patients in Emergency Unit. Thai Journal of Nursing Council, 33(4), 64-74. (in Thai)

Kritsanarungsun, S., Suntatianan, J., & Saelee, R. (2018). ACLS Provider Manual. Bangkok: Punyamit Printing. (in Thai)

Preyawanich, J., Thaniwatananon, P., & Kongin, W. (2007). Relationships Between Understanding of Muslim Caregivers of Stressful Situation, Perception of Spiritual Needs of Muslim Patients on Mechanical Ventilation and Participation of Caregivers in Spiritual Care of Muslim Patients. Songklanagarind Medical Journal, 25(6), 471-480. (in Thai)

Seangnhern, U., Uppanisakorn, S., & Chinnawong, T. (2010). Factors Related to Nurses’ Knowledge and Skill in Cardiopulmonary Resuscitation in Songklanagarind Hospital. Songklanagarind Journal of Nursing, 32(1), 1-10. (in Thai)

Singdong, P., & Jitpanya, C. (2012). Relatives’ Experiences in Intensive Care Units: A Qualitative Study. Ramathibodi Nursing Journal, 18(3), 404-417. (in Thai)

Srisuphaolarn, I., & Uakit, N. (2016). The Effect of Meeting Family-Needs Program on Anxiety of Family Members of Critically ill Patients. Songklanagarind Medical Journal, 36(3), 77-93. (in Thai)

Waearlee, D. (2004). Caring for Palliative Patients According to Islamic Guidelines. Bangkok: O.S. Printing House. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-24