การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูดเสมหะในผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ พุฒิวณิชย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • นภาพร พุฒิวณิชย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ศักรินทร์ สุวรรณเวหา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

การทบทวนวรรณกรรม, แนวปฏิบัติ, การดูดเสมหะ, ผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูดเสมหะในผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ การสืบค้นข้อมูลกระทำอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหางานวิจัยที่ทำในประเทศไทยทั้งที่ตีพิมพ์เผยแพร่และไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีรายงานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2560  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองงานวิจัยตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และ 3) แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล แหล่งของการสืบค้นข้อมูลได้แก่ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย  ฐานข้อมูลวิจัยมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลการวิจัย ฐานข้อมูลวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยมหิดล การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลลักษณะทั่วไปของรายงานวิจัยใช้การแจกแจกความถี่ และร้อยละ ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการดูดเสมหะในผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจที่มีข้อมูลทางสถิติที่เพียงพอใช้การวิเคราะห์เมตา โดยโปรแกรมสำเร็จรูป Review Manager Version 5.3 ผลการวิจัยพบว่า

1. ร้อยละ 100 ของงานวิจัยที่พบของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวปฏิบัติในการดูดเสมหะในผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ มีคะแนนความไม่สุขสบายจากการดูดเสมหะน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้การดูดเสมหะในผู้ใหญ่แบบปกติ

2. ร้อยละ 100 ของงานวิจัยที่พบของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวปฏิบัติในการดูดเสมหะในผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ มีการเปลี่ยนแปลงระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ การบาดเจ็บของเยื่อบุหลอดลม และมีความทุกข์ทรมานจากการดูดเสมหะน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้การดูดเสมหะในผู้ใหญ่แบบปกติ

3. ร้อยละ 100 ของงานวิจัยที่พบของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวปฏิบัติในการดูดเสมหะในผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจมีการเปลี่ยนแปลงของค่าความดันซิสโตลิค ค่าความดันในทางเดินหายใจ และมีปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าออกต่อครั้งไม่แตกต่างกันกับกลุ่มที่ใช้การดูดเสมหะในผู้ใหญ่แบบปกติ

ควรมีการเผยแพร่แนวปฏิบัติในการดูดเสมหะในผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องได้รับการดูแลโดยดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ และควรมีการติดตามผลที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แนวปฏิบัติ เช่น ค่าใช้จ่ายในการดูดเสมหะ และภาระงานของพยาบาล

References

Boonrat, J., & Ratananakorn, S. (2012). Spiritual Care for Critically Ill Patients and Families in ICU: Nursing Experiences. Journal of Narathiwat Rajanagarindra University, 4(1), 1-13. (in Thai)

Finucane, B. T., Tsui, B. C. H., & Santora, A. H. (2011). Complications of Airway Management.

In B.T. Finucane, B.C.H. Tsui, & A.H. Santora (Eds.), Principles of Airway management. 4th (ed). Springer: New York.

Intensive Care Coordination and Monitoring Unit. (2014). Suctioning an Adult ICU Patient with an Artificial Airway: A Clinical Practice Guideline. Retrieved May 8, 2016, from https://www.aci.health.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0010/239554/ACI14_Suction_2-2.pdf

Joanna Briggs Institute. (2014). Reviewers’ Manual 2014 Edition. Australia: Solito Fine Colour Printers. Retrieved May 1, 2016, from http://joannabriggs.org/assets/docs/approach/ JBI-Levels-of-evidence_2014.pdf

Joffe, A. M., & Deem, S. A. (2012). Physiologic and Pathophysiologic Responses to in tubation. In C. A. Hagberg (Ed.), Benumof and Hagberg's Airway Management. 3rd (ed). Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders.

Khanuengnit, P. (2010). Effectiveness of Implementing Best Practice Guidelines for Tracheal Suctioning in Adults with an Artificial Airway in Surgical Intensive Care Unit, McCormick Hospital, Chiang Mai Province. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Chiang Mai University. (in Thai)

Kornrat, S. (2009). Effectiveness of Implementing Best Practice Guidelines for Tracheal Suctioning of Adults with an Artificial Airway in Surgical Intensive Care Unit, Sawanpracharak Hospital, Nakhon Sawan Province. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Chiang Mai University. (in Thai)

Monthicha, K. (2010). Effectiveness of Implementing Best Practice Guidelines for Tracheal Suctioning of Adults with an Artificial Airway in The Medical Intensive Care Unit 2, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Chiang Mai University. (in Thai)

Pappano, A. J., & Wier, W. G. (2013). Cardiovascular Physiology. 10th (ed). Philadelphia, PA.

Pederson, C. M., Nielsen, M. R., Hjermind, J., & Egerod, I. (2009). Endotracheal Suctioning of the Adult Intubated Patient-what is the Evidence?. Journal of Intensive and Critical Care Nursing, 25(1), 21-30.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2014). Essentials of Nursing Research: Appraising Evidence for Nursing Practice. 8th (ed). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott/Williams & Wilkins Health.

Potter, P. A., Perry, A. G., Stockert, P., & Hall, A. (2014). Essentials for Nursing Practice. 8th (ed). Elsevier - Health Sciences Division.

Prapaporn, C. (2010). Effectiveness of Implementing Best Practice Guidelines for Tracheal Suctioning of Adults with an Artificial Airway in the Intensive Care Unit, Overbrook Hospital, Chiang Rai Province. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Chiang Mai University. (in Thai)

Saisamorn, G. (2002). The Effects of Endotracheal Suctioning on Physical and Psychological Changes in Patients with Mechanical Ventilator. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Khon Kaen University. (in Thai)

Tokarczyk, J., Greenberg, B. S., & Vender, S. J. (2012). Oxygen Delivery Systems, Inhalation Therapy, Respiratory Therapy. Benumof and Hagberg's Airway Management, In C.A. Hagberg (Ed.), 3rd (ed). Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders.

Umaporn, R. (2010). Effectiveness of Implementing Best Practice Guidelines for Tracheal Suctioning of Adults with an Artificial Airway in Intensive Care Unit, Banmi Hospital, Lop Buri Province. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Chiang Mai University. (in Thai)

Yuwanida, A. (2015). Evidence-Based Practices In Prevention of the Ventilator-Associated Pneumonia (VAP). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2(3), 144-158. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-07