การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานธรณีโลก จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • วิริยะ สงเกื้อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล
  • สุทัศน์ เสียมไหม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • วรายุส วรรณวิไล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งแวดล้อม, ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, อุทยานธรณีโลกสตูล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานธรณีโลก จังหวัดสตูล ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2562 การวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ในกลุ่มผู้บริหารและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา กรรมการชุมชน ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่อุทยานธรณีโลก ไกด์นักท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการอบรม ประชุมกลุ่มย่อย ในกลุ่มผู้บริหารและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัดด้วย Delphi Technique และตอบแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ อปท. ผู้นำชุมชน และ อสม. จำนวน 221 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์  ผลการวิจัยพบว่า

หลักนิติธรรม พบว่าส่วนใหญ่ อปท.ยังขาดการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนในพื้นที่อุทยานธรณีโลก 2) หลักคุณธรรม พบว่า มีเพียงส่วนน้อยเริ่มมีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของอปท. 3) หลักความโปร่งใส ส่วนใหญ่ อปท.ยังขาดการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเกี่ยวกับการจัดการขยะ น้ำเสีย มลพิษอากาศในพื้นที่อุทยานธรณีโลก 4) หลักการมีส่วนร่วม ส่วนใหญ่ พบว่า อปท.ยังขาดการสนับสนุนประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของอปท.ในพื้นที่อุทยานธรณีโลก 5) หลักความรับผิดชอบ อปท.ส่วนใหญ่ค่อนข้างเล็ก มีผู้รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อมน้อย ไม่เพียงพอต่อภารกิจงานด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในบริบทพื้นที่ 6) หลักความคุ้มค่า ส่วนใหญ่ ขาดการประเมินความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานที่ได้ สำหรับการพัฒนาตัวชี้วัดสำคัญ พบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานธรณีโลก ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ 35 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) องค์ประกอบการบริหารจัดการองค์กรและการสร้างเครือข่าย ประกอบด้วย 19 ตัวชี้วัด และ 2) องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 16 ตัวชี้วัด

จากผลการวิจัย สามารถนำไปใช้พัฒนาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของอปท.สู่รูปแบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล

References

Bureekul, T. (2007). The Participation: Concept Theory and Procedure. Bangkok: Phanit Phranakorn Company. (in Thai)

Chaijarurn, B., & Lee, B. (2001). Indicators of Good Governace. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute. (in Thai)

Chhotray, & Stoker. (2009). Governance Theory and Practise: A Cross-Disciplinary Approach. GreatBritish: CPI Antony Rowe, Chippenpham and Eastbourne.

Costello, A. B., & Osborne, J. W. (2005). Best Practices in Exploratory Factor Analysis: Four Recommendations for Getting the Most From Your Analysis. A Peer Reviewed Electronic Journal, Retrieved March 14, 2019.

Dahlgren & Whitehead (1991). Social Model of Health. Retrieved April 3, 2019 from https://www.nwci.ie/download/pdf/determinants_health_diagram.pdf

Eakanatphot, C. (2009). Appropriate Infection Waste Management for Primary Care Units: Case Study: Lam Luk Ka District, Phathu Thani Province. Master Degree of Public Health Thesis. Faculty of Health Science, Thammasat University. (in Thai)

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Health Canada. (2004). Social Determinants of Health and Health Inequalities. Retrieved April 3, 2019 from https://www.canada.ca/en/public-health/services/health-promotion/population-health/what-determines-health.html

Janin, N., & Chompan, C. (2015). Good Governance in Environmental Management of Local Governance Organizations: A Case Study of Sirthat Municipality, Udonthani. Doctor Social Science Journal (Humanities and Social Sciences Edition) 5(3), 31-51. (in Thai).

Kunnikom, P, & Sukmag, P.(2019). Community-Based Tourism (CBT) in Krabi Province: The Scoping Step in a Community Health Impact Assessment (CHIA). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(2), 105-114. (in Thai)

Meejang, S. (2014). Advanced Statistics for Research: Theory and Practice. Bangkok. Printing of Chulalongkorn University. (in Thai)

Ministry for Foreign Affairs of Finland. (2004). Combating Corruption the Finish Experience. Retrieved July 21, 2019 from http://www.global.finland.

Ministry of Public Health. (2017). Strategic Environmental Health Plan Volumn 3 2017-2021. Academic Service Center Srinakharinwirot University. Nonthaburi. (in Thai)

Naratee, A. (2008). Manual for Legal Regulations of Local Government Organizations. Office of Local Personnel Standards Administration. Retrieved April 15, 2019 from http://www.local.moi.go.th/main_law.htm.
Natural Resources and Environmental Policy and Planning Office, Ministry of Natural Resources and Environment. (1999). Manual of Natural Resources and Environmental Management of Local Administrative Organizations. Volume 1. Bangkok. (in Thai)

Nawsuwan, K, Wisalaporn, S., & Didyasarin Sattayarak, W (2015). Indicators Development of Nursing Students’s Identity in Nursing Colleges, Ministry of Public Health. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(3), 59-73. (in Thai)

Neelankavil, J. Ullmann, (2005), “Strategic Tools for Innovation and Their Impact on the Long-Term Success of Modern Corporations,”. Annual Review of Communications, 58(fall), 169-178.

Nikrowattanayingryon, S., & Wassandamrongdee, S. (2009). Environmental Governance: Indicators of Public Participation. Thailand Environment Institute. (in Thai)

Pattamasiriwat, D., & Rayanakorn, K. (2009). Driving the Local Garden Organization for Good Public Administration. Bangkok: Thai Graphic and Print. (in Thai)

Phoungham, K. (2005). Thai Local Government: Principles and New Dimensions in the Future. Bangkok: Thai Graphic and Print. (in Thai)

Poboon, J. (2017). Community Participation in Natural Resource and Environmental Management. Journal of Environmental Management, 3(1), 147-174. (in Thai)

Sathianthai, S. (2001). Good Governance, Public Participation and Environmental Processes. Bangkok: Saitharn Publishing. (in Thai)

Sirijamorn, S., & Poboon, J. (2010). Good Governance in Environmental Management of Local Authority: A Case Study of Siracha Municipality, Chonburi. Journal of Environmental Management, 6(1), Retrieved June 3, 2019 from https://www.tci-thaijo.org/index.php /JEM/article/view/29082

Smith, B. C. (1993). Choice in the Design of Decentralisation. London: Commonwealth Secreteriat.

Suwanmala, J. (2003). Citizen Participation in Local Government. Parliamentary Document, 2(51), 46-57. (in Thai).

Thai National Commission for UNESCO. (2017). International Geological Significance and Geological Differences Between Langkawi and Satun Geoparks. Retrieved November 28, 2019 from https://drive.google.com/file/d/0BzsT0Gq8BZUMMGpTdjZfdnBVOVk/view

Waichomp, N., Chullasap, N., & Nawsuwan, K. (2019). Synthesis of Indicators and Components of Academic Administration of Rajabhat Universities in Southern Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Science Journal, 6(2), 31-47. (in Thai)

Wiwattanadate, P. (2017). Situation Review and Evaluation of Northern Industrial Estate Development and Enhancing the Capacity of the Community, Local Governance Organization and Industrial Estate to an Eco-Industrial City. Chiang Mai: Chiang Mai Publishing. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-14