รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • นวรัตน์ ไวชมภู คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • สุนีย์ เครานวล คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • รัตติภรณ์ บุญทัศน์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • เดียร์นา แม็ง คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, หลัก 3 อ.

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ 2) สร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ และ 3) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ ในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 85 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวทางการสนทนาความต้องการการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) ขั้นตอนการประเมินรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1. ความต้องการการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ พบว่า ผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีความต้องการการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ ดังนี้ ด้าน อ: อาหาร จำนวน 7 กิจกรรม ด้าน อ: ออกกำลังกาย จำนวน 9 กิจกรรม ด้าน อ: อารมณ์ จำนวน 11 กิจกรรม

2. รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. ของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้แก่ 3 อ Yupo Model ประกอบด้วย 1) อ: อาหาร เป็นกิจกรรมที่เน้นความรู้เกี่ยวกับอาหาร (Knowledge) อาหารเฉพาะโรค อาหารชะลอวัย อาหารที่ช่วยระบบขับถ่าย อาหารบำรุงสมอง และอาหารปลอดสารพิษ 2) อ: ออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมที่เน้นทักษะการออกกำลังกาย (Skill) ได้แก่ บาสโลบ กีฬาพื้นบ้าน มณีเวช ตารางเก้าช่อง ฮูลาฮุก ไม้พลอง แอโรบิค แก่วงแขน และโยคะ และ 3) อ: อารมณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นด้านจิตใจ จิตวิญญาณ และสัมพันธภาพ (Relationship) ได้แก่ การร้องเพลงคาราโอเกะ รำวง รำมโนราห์ ทำอาหาร ร้องเพลง เล่นดนตรีพื้นบ้าน ทัศนศึกษา ปฏิบัติธรรม ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ผักคอนโด เลี้ยงรุ่น และกิจกรรมรอบกองไฟ

3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.80, SD=0.20)

รูปแบบ 3 อ Yupo Model ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำมาบูรณาการในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป

References

Chalardlon, T., Moolsart, S., & Lawang, W. (2017). The Development of a Health Promotion Activity Model for Elderly in the Ban Pong Elderly Klungpunya Club, Ratchaburi Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 27(2), 154-167.

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE.

Department of Health Service Support Ministry of Public Health. (2017). Behavior Modification by (Food, Exercise, Emotion, Smoking, and Alcohol Cessation). Retrived November January 1, 2020 from. https://live.siammedia.org/index.php/article/chit-chat-health/21163. (in Thai)

Jariyaratpaisarn, M. (2015). Model of Healthpromotion Activities for Aging in Kamphaeng Phet Province. Journal of Humanities and Social Science, 21(3), 86-96. (in Thai)

National Board of the Elderly. (2015). Situation of the Thai Elderly 2016. Bangkok: Foundation for Thai Elderly Research and Development Institute. (in Thai)

Paosungnoen, A., Nawklang, W., Yoikratok, V., Kammanee, S., Dechtungka, O., & Simma, A. (2015). Health-Promoting Behavior of Elderly in Gudjik Health Promoting Hospital, Gudjik Sub-District, Sungnoen District, Nakhon Ratchasima Province. Hat Yai National Academic Conference No. 6 26 June 2015, Hat Yai University.

Pender, N. J. (1987). Health Promotion in Nursing Practice. (2nded.). New Jersey: Connecticut: Appleton & Lange.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. (5th ed.) New Jersey: Pearson Education.

Phaenkhong, A. (2010). Elderly Nursing Care. (2nd ed.). Nonthaburi: Academic Welfare Program Praboromarajchanok Institute. (in Thai)

Phopa, Y., Sanveingchan, S., & Pruksacheva, T. (2017). Factors Effecting Health Promotion Behavior in Elderly: In-Depth Factors Study in Ban Khlong Yong Moo 1. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(Special Edition), 266-275. (in Thai)

Sangprasert, P. (2015). The Predictive Factors of Health Promotion Behaviors among a Population Living in the Urban Community of Metropolitan Bangkok, 23(1), 113-126. (in Thai)

Sasuad, K. (2017). Factors Affacting the Quality of Life of the Elderly in the Eastern Province. NRRU Community Research Journal, 11(2), 21-38. (in Thai)

Singchangchai, P., Khamphalikit, S., & Nasae, T. (1996). Nursing Research: Principles and Processes. (2nd ed.). Songkhla: Tempe Printing.

Thongcharoen, W. (2015). Science and Art of Nursing for the Elderly. (2nd ed.) Bangkok: N. P. Place. (in Thai)

Waichompu, N., Boontud, R., & Singweratham, N. (2019). Elderly Health Promotion by Three Main Concepts. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(2), 262-269. (in Thai)

Yamekaew, J. (2017). Activity Formats for the Elderly People in Happiness School of Taidong Subdistrict Wangpong District Phatchabun Province. Report of the Proceedings National Research Presentation Graduate Network 17th Rajabhat University Northern Region, 1401-1421. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-14