ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ธิติรัตน์ ราศิริ นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ปฏิบัติงานที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • อาจินต์ สงทับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, ปัจจัยทำนาย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 226 คน โดยการสุ่มอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการสูงอายุ แรงสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าของตนเอง การมีส่วนร่วมของชุมชน และการส่งเสริมสุขภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นส่วนของแบบทดสอบความรู้ KR-20 เท่ากับ .82 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83, .87, .97 และ .91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value<0.05 ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.349) วิธีการเดินทางเข้ารับบริการสถานพยาบาล (β = 0.235) การเห็นคุณค่าของตนเอง (β = 0.173) การดำรงตำแหน่งในสังคม (β = 0.143) โรคประจำตัวไขมันในเลือด (β = 0.173) ความรู้เกี่ยวกับการสูงอายุ (β = - 0.145) การได้รับข้อมูลข่าวสาร (β = 0.119) โรคประจำตัวโรคหัวใจ (β = 0.116) สถานภาพสมรส (β = 0.112) และการมีส่วนร่วมของชุมชน (β =0.105) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ได้ร้อยละ 62.2 (R2=0.622)

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการออกแบบรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นป้องกันไม่ให้ก้าวสู่ภาวะติดเตียงในอนาคต

References

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education. New York: Avid McKay Company .

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Donna, M., & Wilson. (2011). Upstream Thinking and Health Promotion Planning for Older Adults at Risk of Social Isolation. International Journal of Older People Nursing, 6(4), 282–288.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). (2016). Report of the Situation of the Elderly in Thailand 2016. Bangkok: Pongpanich Charoenphan Co., Ltd. (in Thai)

Institute for Population and Social Research. (2015). Mahidol Population Gazette in 2015. Nakronpathom. Mahidol University. (in Thai)

Jirawatkul, A. (2009). Statistics for Health Science Research. Bangkok: Vittayapat Published. (in Thai)

Jitsopakul, N. (2014). Determine Factors Relating to Health Promotion Behaviors of the Elderly Living in Moo 6 Community, of Tambon BungSan, Amphoe Onkkarak, Changwat Nakhon Nayok. Journal Academic of Patumthanee University, 6(3), 171-178. (in Thai)

Junthakot, S. (2014). Participation of the Village Public Health Volunteers in Enhancing the Elderly Health in UbonRatchathani Province. Research and Development Health System Journal, 7(1), 309-314. (in Thai)

Kitreerawutiwong, N., & Mekrungrongwong, S. (2016). Factor Influencing Health Behavior among Elderly Living in the Community. The Public Health Journal of Burapha University, 11(1), 63-74. (in Thai)

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The Theory of the Estimation of Test Reliability. The Psychometric Society, 2(3), 151-160.

Netdown, J. (2014). Determine Factors Relating to Health Promotion Behaviors of the Elderly Living in Moo 6 Community, of Tambon Bung San, Amphoe Onkkarak, Changwat Nakhon Nayok. Pathumthani University Academic Journal, 6(3),171-178. (in Thai)

Pender, N. J., Murdaugh, C., & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed). New Jersey: Upper Saddle River.

Phitsanulok Provincial Public Health Office. (2015). Annual Report for the Elderly in Phitsanulok Province 2015. Phitsanulok Provincial Public Health Office. (in Thai)

Phitsanulok Provincial Public Health Office. (2018). Annual Report for the Home-Bound Elder in Phitsanulok Province 2018. Phitsanulok Provincial Public Health Office. (in Thai)

Pongsaengpan, & Rodjarkpai. (2014). Community Participation on Elderly Health Promotion. Chonburi: Phurapa University. (in Thai)

Pumwiset, P. (2015). Self Health Care Behaviors among Elderly in Nonthaburi Province. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health, 38(2), 25-34. (in Thai)

Rogers, C. R. (1970). Carl Rogers on Encounter Groups. New York: Harper & Row.

Sakolsatayadorn, P. (2016). Guideline for the Implementation of the District Health Management 5 Age Groups Integrated by the LTC as an Entry Point. Ministry of Public Health: Nontaburee Province. (in Thai)

Singkeaw, P. (2015). Health Behavior, Social Support and Health Care Service Request of Elderly at Muang Phisanulok District, Phisanulok Province. Journal Science and Technology Nareasuan University, 23(3), 46-59. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-29