การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ผู้แต่ง

  • ละมัด เลิศล้ำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ชนิดา ธนสารสุธี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • สุภาเพ็ญ ปานะวัฒนพิสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ชัชรีย์ บำรุงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน, การสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง (SBL)

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation Based Learning: SBl) และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1: ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ 24 คน โดยใช้สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อ ระยะที่ 2: พัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL เป็นการวิจัยเอกสาร นำข้อมูลมากำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ระยะที่ 3: พัฒนาทักษะการสอนด้วย SBL ด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาล จำนวน 69 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และ ระยะที่ 4: ประเมินผลลัพธ์หลังเสร็จสิ้นจัดการเรียนการสอนด้วย SBLด้วยการประเมินทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 136 คน วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนก่อน-หลังการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL ด้วยสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน พบว่า ยังไม่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้เท่าที่ควร อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้รูปแบบการสอนที่พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนได้ และเห็นว่า SBL เป็นวิธีการสอนวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีไปดูแลผู้ป่วย

2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ Pre-Pre Brief, Pre-Brief, Simulation Activity, Debrief and Reflection

3. อาจารย์ผู้สอนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL อยู่ในระดับดี (M=4.19, SD=0.53)

4. ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการพยาบาลหลังการเรียนรู้ด้วย SBL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=18.09)

ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมผลเฉพาะด้านของการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL ต่อสมรรถนะด้านต่าง ๆ เชิงวิชาชีพ และการพัฒนาโจทย์สถานการณ์ เพื่อให้มีโจทย์สถานการณ์ที่หลากหลาย และเฉพาะเจาะจงต่อการพัฒนาทักษะเฉพาะทางการพยาบาล

References

Aebersold, M. (2016). The History of Simulation and its Impact on the Future. AACN Advanced Critical Care, 27(1), 56-61.

Bond, W. F., & Spillane, L. (2002). The Use of Simulation for Emergency Medicine Resident Assessment. Academic Emergency Medicine, 9(11), 1295-1299.

Buarapan, K. (2012). 21st Century Skills Assessment Part 1. Mahidol University Innovation Journal, 7(26), 4-9. (In Thai)

Cordeau, M. A. (2010). The Lived Experience of Clinical Simulation of Novice Nursing Students. International Journal for Human Caring, 14(2), 9-15.

Dunn, K. E., Osborne, C., & Link, H. P. (2014). Hight-Fidelity Simulation and Nursing Student Self-Efficacy: Does Training Help the Little Engines Know They Can? Nursing Education Perspectives, 35(6), 403-404.

Gasiorowski, L., Kulinski, D., & Stachowiak-Andrysiak, M. (2016). The Development of Medical Simulation Centers in Poland-A Strong Opportunity for Modernization of Nursing Education. Polish Nursing, 4(62), 598-601.

Ji Young, K. & Eun Jung, K. (2015). Effects of Simulation on Nursing Students’ Knowledge, Clinical Reasoning and Self-Confidence: A Quasi-Experimental Study. Korean Journal of Aduly Nursing, 27(5), 604-611.

Khaemmanee, T. (2011). Teaching Science. Bangkok. Chulalongkorn University Publishing House.

Lasater, K., (2007). Clinical Judgment Development: Using Simulation to Create an Assessment Rubric. Journal of Nursing Education, 46(6), 496-503.

McAllister, M., Levett-Jones, T., Downer, T., Harrison, P., Harvey, T., Reid-Searl, K., et al. (2013). Snapshots of Simulation: Creative Strategies Used by Australianeducators to Enhance Simulation Learning Experiences for Nursing Students. Nurse Education in Practice, 13(6), 567-572.

Nehring, W. M., & Lashley, F. R. (2010). High-Fidelity Patient Simulation in Nursing Education. Canada: Jones and Baetlett.

Office of Higher Education Commission. (2018). Standard Criteria for Higher Education Curriculum, 2015 and Related Standards. Bankok: Wongsawang Publishing and Printing. (In Thai)

Panich, W. (2012). The Way to Create Learning for Students in the 21st century. Bankok: Sodsri-Saritwong Foundation. (In Thai)

Richardson, K. J., & laman, F. (2014). Hight-Fidelitysimulation in Nursing Education: A Change in Clinical Practice. Nursing Education Perspectives, 35(4), 125-127.

Riley, R. H. (2016). Manual of Simulation in Healthcare. 2th ed. United Kingdom: Oxford University Press.

Shin, G. (2004). Thinking About a Research Question. Texas: College Station.

Smith, S. J., & Roehrs, C. J. (2009). High-Fidelity Simulation: Factors Correlated with Nursing Student Satisfaction and Self-Confidence. Nursing Education Perspective, 30(2), 74-78.

Sun-Nam, P., Min-Sun, C., Yoon-Young, H., Sun-Hee, K., & Sun-Kyoung, L. (2015). Effects of Integreated Nursing Practices Simulation-Based Learning Training on Stress, Interest in Learning, and Problem-Solving Ability of Nursing Students. Journal of Korean Academic Fundamental Nursing, 22(4), 424-432.

Thanormchayathawat, B., Vanitsuppavong, P., Niemted, W., & Portjanatanti, N. (2016). 21st Century Skills: A Challenge for Student Development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(2), 208-222. (In Thai)

Wangsrikhun, A. (2014). Thai Education in the 21st Century: Productivity and Development Guidelines. Journal of Humanities and Social Sciences Graduate School Pibulsongkram Rajabhat University, 8(1), 1-17. (In Thai)

Zakari, N. M., Hamadi, H. N., Audi, G. R., & Hamadi, W. (2017). Impact of Simulation on Nursing Student’s Competency: A Perspective Qualitative Study in Saudi Arabia. International Journal of Nursing Education, 2(9), 75-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-06