พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช สุภาพวานิช วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • ฮาซามี นาแซ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนราธิวาส
  • อัญชลี พงศ์เกษตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • มะการิม ดารามะ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • จามรี สอนบุตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • สมบูรณ์ คชาภรณ์วงศกร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

วัณโรค, บุคลากรทางการพยาบาลพฤติกรรม, การป้องกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 269 คน ดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบระดับชั้นเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามได้ค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ .90 ค่า KR 20 ของแบบสอบถามความรู้  และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาดแอลฟา ของทัศนคติ และ พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคเท่ากับ .74 .80 และ .89 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson’s Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลอยู่ในระดับดี (M=4.35, SD=0.38) ความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับปานกลางและระดับดี ตามลำดับ (M=7.33, SD=2.57 และ M=3.96, SD=0.73) การรับรู้ข้อมูลการได้รับสิ่งสนับสนุนและการจัดสภาพสิ่งแวดล้อม และการกระตุ้นและสนับสนุนจากผู้ร่วมงานหรือหัวหน้างานอยู่ในระดับดี (M=2.77, SD=0.31, M=2.68, SD=0.36 และ M=2.67, SD= 0.37 ตามลำดับ)

2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยและปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ (r=0.15, p=0.012) ทัศนคติ (r=0.15, p=0.012) การได้รับข้อมูลด้านการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงาน (r=0.37, p<0.001) และการแนะนำและสนับสนุนจากผู้ร่วมงานหรือหัวหน้างาน (r=0.45, p<001)

ดังนั้น หน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วยวัณโรคควรสร้างความตระหนักและสนับสนุนความรู้และกระตุ้นบุคลากรในด้านการป้องกันวัณโรคจากการทำงานเพื่อช่วยให้บุคลากรมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อวัณโรคได้ดีขึ้น

References

Apivanich, S., Muntajit, T., & Malathum, K. (2012). A Tuberculosis Surveillance Program in Healthcare Workers at Ramathibodi Hospital. Rama Nurs J, 18(3), 273-286. (in Thai)

Choowong, J., Maneechote, P., & Sawatdee, D. (2019). People with Tuberculosis in Thailand: Impacts of Stigma and Directly Observed Treatment Practice Guidelines. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(1), 237-245. (in Thai)

Green, L. W., & Ottoson, J. M. (2006). A Framework for Planning and Evaluation: PRECEDE-PROCEED Evalution and Application of the Model. Retrieved July 14, 2018 from https://www.inspq.qc.ca/sites/default/files/jasp/archives/2006/jasp2006-ottawa-green-ottoson14-1.pdf.

Inchai, J., Liwsrisakun, C., Bumroongkit, C., Euathrongchit, J., Tajarernmuang, P., & Pothirat, C. (2018). Tuberculosis among Healthcare Workers at Chiang Mai University Hospital, Thailand: Clinical and Microbiological Characteristics and Treatment Outcomes. Japanese Journal of Infectious Disease, 71, 214-219.

Junthima, K., Kamonwat, P., & Monchatree, P. (2012). Prevalence of Tuberculosis in Healthcare Personnel at Healthcare Service Center of the Network of Health Service 9. Thai Journal of Tuberculosis Chest Diseases and Critical Care, 33(4), 160-166.

Kwanthalay, K. (2009). Tuberculosis Preventive Behaviors among Nurse Personel in the Out-Patient Department, Siriraj Hospital. (Master of Sciences, major in public health nursing), Mahidol University. Retrieved May 01,2018 from http://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/download/4852/4639.

Lemrod, K., & Swaddiwudhipong, W. (2018). Situation of Tuberculosis among Hospital Personnel of the Ministry of Public health, Tak Province. Journal of Health System Research, 11(2), 286-295.

Narathiwas Provincial Health Office. (2017). Tuberculosis Control. (pp. 1-6).

Pongpant, S. (2018). Healthcare Personnel Safety and Tuberculosis. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 8(3), 319-325.

Pongwittayapanu, P., Anothaisintawee, T., Malathum, K., & Wongrathanandha, C. (2018). Incidence of Newly Diagnosed Tuberculosis among Healthcare Workers in a Teaching Hospital, Thailand. Annals of Global Health, 84(3), 342-347.

Schiffman, L. G., & Wisenblit, J. (2007). Consumer Behavior. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentic-Hall.

Schober, P., Boer, C., & Schwarte, L. A. (2018). Correlation Coefficients: Appropriate Use and Interpretation. Anesthesia & Analgesia, 126(5), 1763-1768.

Shrestha, A., Bhattarai, D., Thapa, B., Basel, P., & Wagle, R. R. (2017). Health Care Workers' Knowledge, Attitudes and Practices on Tuberculosis Infection Control, Nepal. Bio Med Central Infectious Disease, 17(724), 1-7.

Sukviboon, T. (2009). Rating Scale. Retrived January 10, 2020 from https://www.ms.src.ku.ac.th/ schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc

Trakultaweesuk, P., Niyompattama, A., Boonbamroe, S., & Chaiear, N. (2017). Tuberculosis among Hospital Staffs in a Tertiary Care Hospital, Northeastern Thailand. Srinagarind Med J, 32(3), 204-213.

Unahalekhaka, A., Lueang-a-Papong, S., & Chitreecheur, J. (2018). Implrmentation, Obstacles and Needs of Hospitals in Thailand in Preventing Tuberculosis Transmission. Journal of Health System Research, 11(4), 529-539.

Wanpattanawong, P., Supapvanich, C., & Sontichai, A. (2017). Preventive Behaviors of Occupational Tuberculosis among Healthcare Workers in Naradhiwas Rajanagarindra Hospital, Narathiwas Province. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 48-59.

World Health Organization. (2018). Global Tuberculosis Report 2018 (pp. 277). Retrieved August 12, 2019 from https://www.aidsdatahub.org/global-tuberculosis-report-2018-who-2018.

World Health Organization. (2019). Tuberculosis Country Profiles. 1. Retrieved March 25, 2019 from https://extranet.who.int/sree/Reports?op=Replet&name=%2FWHO_HQ_Reports% 2FG2%2FPROD%2FEXT%2FTBCountryProfile&ISO2=TH&LAN=EN&outtype=pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-03