ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 240 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และแนวการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา หาค่าความเที่ยง ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าสัมประสิทธิ์ 0.81 ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยวิธี Thematic Analysis ผลการวิจัยพบว่า
ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=33.29, SD=8.18) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าผู้ให้ข้อมูลแสดงความคิดที่สื่อถึงความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับการทำหน้าที่ของบุคคล 2 ประเด็นคือ 1) มีสิ่งที่ช่วยในการอ่านฉลากยา 2) มีสิ่งที่ช่วยในการฟัง ในระดับการสื่อสารพบ 5 ประเด็นดังนี้ 1) มีความรู้เรื่องโรค 2) หาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ 3) กิจกรรมและการสื่อสารในสังคมทำให้ได้ข้อมูล 4) สนใจข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ และ 5) อยากรู้เรื่องแพทย์และยา และในระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่ามี ประเด็น การเปลี่ยนพฤติกรรม
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการสร้างนโยบาย การปฏิบัติ และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้
References
Anderson, G., & Horvath, J. (2004). The Growing Burden of Chronic Disease in America. Public Health.
Banrai Sub-District Administrative Organization. (2018). Sub-District Demographic Data. http://banraiauruea.go.th/public/. Accessed 25th December 2018 (in Thai).
Boyatzis, R. E. (1998). Transforming Qualitative Information: Thematic Analysis and Code Development. California: Thousand Oaks.
Centre for Advancement of Learning. (2000). General-Purpose Learning Strategies: Reading Comprehension. [Online] available at: http://www.muskingum.edu/cal/database /general/reading.html. Accessed 10th January 2019.
Ginggeaw, S., & Prasertsri, N. (2015). The Relationship Between Health Literacy and Health Behaviors among Older Adults Who Have Multi-Morbidity. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(3), 43-54. (in Thai)
Heijmans, M., Waverijn, G., Rademakers, J., Van Der Vaart, R., & Rijken, M. (2015). Functional, Communicative and Critical Health Literacy of Chronic Disease Patients and Their Importance for Self-Management. Patient Education and Counseling, 98(1), 41-48.
Hengboriboon, P., Jaidee, P., & Suwanjaroen, J. (2018). Health Literacy on Cambodia Workers in Chonburi Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 86-101. (in Thai)
Indhraratana, A. (2014). Health Literacy of Health Professionals. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 174-8. (in Thai).
Ishikawa, H., Takeuchi, T., & Yano, E. (2008). Measuring Functional, Communicative, and Critical Health Literacy among Diabetic Patients. Diabetes Care, 31(5), 874-879.
Kobayashi, L. C., Smith, S. G., O'Conor, R., Curtis, L. M., Park, D., von Wagner, et al. (2015). The Role of Cognitive Function in the Relationship Between Age and Health Literacy: a Cross-Sectional Analysis of Older Adults in Chicago, USA. BMJ Open, 5(4), e007222.
Kung Num Won Sub-District Administrative Organization. (2018). General Information. www.kungnamwon.com. Accessed 25th December 2018. (in Thai).
Lakeaw, A., & Chaleekrua, T. (2015). Health Literacy and Factors Related to Medication among Patients with Hypertension Ban Piang Luang Subdistrict Health Promoting Hospital, Chiang Mai Province. The Sixth National and International Conference, National Group of Science, Proceeding, 635-649. (in Thai).
Marengoni, A., Winblad, B., Karp, A., & Fratiglioni, L. (2008). Prevalence of Chronic Diseases and Multimorbidity among the Elderly Population in Sweden. American journal of public Health, 98(7), 1198-1200.
Ministry of Public Health. (2019). Older Persons Screening for Ten Diseases. https://hdcservice. moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=df0700e8e3c79802b208b8780ab64d61. Accessed 25th January 2019. (in Thai).
Mistry of Interior. (2018). Official Statistics Registration System. http://stat.dopa.go.th/stat/ statnew/upstat_age_disp.php. Accessed 12th January 2019. (in Thai).
Muang Ratchaburi Agricultural Extension Office. (2018). Basic Data of Agriculture. (in Thai).
http://mueang.ratchaburi.doae.go.th/indexmainpage.htmlAccessed 12th January 2019. (in Thai).
Nilnate, W., Hengpraprom, S., & Hanvoravongchai, P. (2016). Level of Health Literacy in Thai Elders, Bangkok, Thailand. J Health Res, 30(5). (in Thai).
Smith, C. A., Chang, E., Brownhill, S., & Barr, K. (2016). Complementary Medicine Health Literacy among a Population of Older Australians Living in Retirement Villages: a Mixed Methods Study. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2016.
Speros, C. I. (2009). More than Words: Promoting Health Literacy in Older Adults. OJIN: The Online Journal of Issues in Nursing, 14(3), Manuscript-5.
Walker, L. O., & Avant, K. C. (1995). Concept Development. Walker LO, Avant KC. Strategies for Theory Construction in Nursing. 3rd ed. Norwalk: Appleton & Lange, 35-78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้