ประสิทธิผลของโปรแกรม CHIRP FAST ต่อความรู้ การรับรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • พรพิมล อมรวาทิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาล้าน
  • บุบผา รักษานาม วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • นงนารถ สุขลิ้ม วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ผลของโปรแกรม CHIRP FAST, โรคหลอดเลือดสมอง, , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลผลของโปรแกรม CHIRP FAST ต่อความรู้ การรับรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลคลองชีล้อม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อสม. ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองชีล้อม จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง และ อสม. ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางหมาก จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุม ดำเนินโปรแกรม CHIRP FAST โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน 2561 ใช้เครื่องมือในการวิจัย 2 ชุด ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ สมุดให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และโปรแกรม CHIRP FAST จำนวน 1 ชุด และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ การรับรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Paired t-test, Wilcoxon signed rank test, Independent t-test, Mann-Whitney U test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า

หลังการเข้าร่วมโปรแกรมในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง (p<0.001) การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงและความรุนแรงของโรค (p=0.012) และพฤติกรรมการป้องกันโรค (p=0.028) และคะแนนเฉลี่ยด้านที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความคาดหวังในการป้องกันโรค (p = 0.463) และผลการศึกษาในกลุ่มควบคุม พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรมทุกด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง (p=0.245) การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงและความรุนแรงของโรค (p=0.280) ความคาดหวังในการป้องกันโรค (p=0.787) และพฤติกรรมการป้องกันโรค (p=0.501)

ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรม CHIRP FAST ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ การรับรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในทางที่ดีขึ้น สามารถนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือสถานบริการสุขภาพอื่น ๆ ต่อไป

References

Best, & John, W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Bloom, B. S. (1968). Learning for Mastery. UCLA Evaluation Comment, 1(2), 1–8.

Center for the Study of Department of Disease Control. (2017). Annual Report 2017. Bangkok: Aksorn Graphic and Design Publication Limited Partnership. (in Thai)

Department of Health Service Support. (2013). Manual: Community Health Management for Village Health Volunteers. Instruction Promgrame. Univercity of California at Los Angeles.

Kumpangkaew, K., Somboontanont, W., & Leelahakul, V. (2015). Relationships Between Perceived Risk, Perceived Warning Signs and Self-Care Behavior in Older Adults at Risk of Cerebrovascular Disease. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(2), 40-56. (in Thai)

Noktajun, R. (2016). The Effects of Protection Motivation Theory Application Program for Hypertension Prevention Behaviors of the Population at Risk. Journal of Phrapokklao Nursing College, 27(2), 16-28. (in Thai)

Pattanaporkrattan, W. (2015). Effectiveness of Behavioral Reformative Program for Stroke Prevention among Hypertensive Patients in Koh Phangan Hospital, Suratthani. Region 11 Medical Journal, 29(1), 145–153. (in Thai)

Prasanson, T., & Pearkao, P. (2013). The Correlation Between Perception of Risk and Prevention Behaviors among Persons at Risk of Acute Stroke. Journal of Nursing and Health Care. 31(2), 36-43. (in Thai)

Sompol, Ch., Rawiworakul, T., & Kirdmongkol, P. (2017). Effects of a Stroke Prevention Program for Older Adults with Hypertension. Journal of Public Health Nursing, 31, 58-74. (in Thai)

Trang Provincial Public Health Office. (2016). HDC Annual Report 2016. Retrieved July 25, 2018 from: http://www.tro.moph.go.th/. (in Thai)

World Stroke Organization. (2017). World Stroke Organization Annual Report 2017. Awareness and Advocacy: A Global Voice for Stroke.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-11