ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชร์ ทองสุวรรณ์ สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดหนองบัวลำภู
  • จุฑารัตน์ สถิรปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ความสามารถในการทำงาน, สิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคม, คุณภาพชีวิต, รพ.สต.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการทำงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดยะลา (รพ.สต.จังหวัดยะลา) ปีงบประมาณ 2557จำนวน 420 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามคุณลักษณะทางประชากร 2) แบบสอบถามปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .95 3) แบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิตมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .65 4) แบบสอบถามประเมินความสามารถในการทำงาน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .91 สำหรับค่าความเที่ยงจากการทดสอบสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาช เท่ากับ .96, .86 และ .53 ตามลำดับ และ 5) แบบสอบถามเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบ ผลการศึกษาพบว่า

1. ระดับความสามารถในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=32.05,SD=4.26)

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา คือ ผลตอบแทนจากงาน ปัจจัยคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และปัจจัยคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งร่วมกันทำนายความสามารถในการทำงานของบุคลากรโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.304 และความสามารถในการทำนายได้ร้อยละ 8.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารควรเน้นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของบุคลากรรวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรได้รับความเข้าใจ และเจตคติต่อการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

References

Buapeth, A. (2007). Environmental Factors in Psychosocial Work Environment Effects to the Relationship Between Mental Health Problems and Job Satisfaction of the Garment Workers in the Large Sized Factory. Journal of Health Science, 42(1), 5-17.

Bukvova, H. (2010). Studying Research Collaboration: a Literature Review.Sprouts: Working Papers on Information Systems. 10, 3. Retrieved from http://sprouts.aisnet.org/10-3.

Ilmarinen, J., Tuomi, K., & Seitsamo, J. (2005). New Dimensions of Work Ability. Elsevier International Congress,1280,3-8.

Isra News Institute. (2009). Unrest Situation in the Three Southern Border Provinces 2009.Retrieved on 25th December 2012. from http://www.tjanew.org /cms/index.phd.

Kaewboonchoo, O., Saleekul, S., & Tompudsa, M. (2007). The Relationship Between General Characteristics and Work Ability in Chemical Truck Drivers. Journal of Nursing Science and Health, 35(2), 62-71.

Kitpreedaborisut, B. (1997). Research Methodology in Social Sciences. 7thed. Bangkok: Charoen Phon Press.

Kulnarong, S. (2009). Relationships Between Occupational Stress and Quality of Life of Health Personnel Working in Health Centres in Narathiwat Province.Thesis of the Master of Science, the Department of Occupational Medicine Prince of Songkla University, Songkla.

Mahatnirankul, S. Tantipiwatanasakul, W., Poompaisal, W. Wongsuwan, K., Pornmanajirangkul R. (1997). Indicator of Quality of Life by the World Health Organization, Thai Version.The Project of Creating a Software Package for Surveying Mental Health in the Area in 2002. Suanprung Psychiatric Hospital: Chiang Mai.

Mariza, A.B.T., Mirna, R.B., Andrea, M.D.V., Viviane, E.G., Efigenia, F. E.F., Andrea, M.E.de.B.L.M., & Raquel, C.F. (2014). Psychosocial Work Conditions and Quality of Life among Primary Health Care Employees: a Cross Sectional Study. Health and Quality of Life Outcomes,12,72.

Masa, S., Rajna, G., Milan, M., Karin, J., & Jadranka, M. (2013). Shift Work, Quality of Life and Work Ability among Croatian Hospital Nurses. OriginalScientific Paper, 37(2), 379-384.

Phusee-Orn, S. (2008). Statistics Package for the Social Sciences. Kalasin: Prasarn Press.

Puttachat, P. (2007). Factors Influencing Quality of Life of Physicians in the Three Southern Border Provinces of Thailand. Research Report of the Department of Family Medicine. Songkhla: Hatyai Regional Hospital, 25(1), 29-37.

Rajna, G., Milan, M., Bojana, K., & Jadranka, M. (2009). Work-Related Stress, Education an Ability among Hospital Nurses. Journal of Advanced Nursing, 65(10), 2056-2066.

Tzeng, D., Chung, W., Lin, C.,& Yang, C. (2012). Effort-Reward Imbalance and Quality of Life of Healthcare Workers in Military Hospitals: a Cross-Sectional Study. BMC Health Services Research, 12, 309.

Wattanarat, P. (2010). The Relationship Between Quality of Working Life and Commitment to Organization: Comparative Study of 3 Large Hospitals in the Municipality of Ubon Ratchathani, Muang District, Ubon Ratchathani Province. Thesis of the Master of Public Administration, the Department of Public Administration, Ubon Ratchathani University, Ubon Ratchathani.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-15