ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2)เปรียบเทียบระดับทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างชั้นปี 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และ 4) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 225คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยทักษะ 3Rs 7Cs ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และหาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของ Cronbach ได้เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สำหรับขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นตัวแทนนักศึกษาแต่ละชั้นปี จำนวน 28 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
ระดับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับสูง (M=3.88, SD=0.35) ทักษะสูงสุดคือทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (M=4.18, SD=0.51) และทักษะต่ำสุดคือทักษะการเขียน (W) Riting, (M=3.33, SD=0.36) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) และ อายุ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล โดยสามารถทำนายทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 3.70อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.002) กลุ่มทักษะที่นักศึกษาต้องการมากที่สุดคือ ทักษะ 3Rs โดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง การพูด การเขียน และการอ่าน โดยใช้การศึกษาจากสื่ออินเทอร์เน็ต Application You Tube เว็บไซด์เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ และจัดอบรมการโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเป็นวิทยากร
References
Best, J. (1997). Research in Education. 3rded, New York: Prentice Hall.
Chantra, R., & Sarakshetrin, A. (2017). Learning Skills in 21st Century of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Suratthani. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 180-190. (in Thai)
Higher Education Internal Quality Assurance Committee. (2014). Manual for the Internal Quality Assurance for Higher Education Institutions 2014. Retrieved July5, 2018 fromhttps://qm.kku.ac.th/downloads/hbMUA14en1.pdf.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement.
Makmeesub, D. (2012). Alternative: A Study of Critical Thinking Effects and Learning Achievement with Blended Learning by Problem Solving Process in Selection and Utilization of Instructional Media Subject of Undergraduate Students. Thesis of Educational Technology Silapakorn University. (in Thai)
Markham, T. (2011). Project Based Learning: A bridge Just Far Enough.Teacher Librarian, 39(2), 39-42.
Miller, W. L., & Crabtree, B. F., (1992). Primary Care Research: A Multimethod Typology and Qualitative Road Map. In B. F. Crabtree & W. L., Miller (Eds.), Doing Qualitative Research, 3-28. Newbury Park: SAGE.
Panich, V. (2012). Way of Learning for Students in the 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. (in Thai)
Partnership for 21st Century Skills (P21). (2009). Framework for 21st Century Learning. P21 Retrieved June 10, 2018 from http://www.21stcenturyskills.org/documents/P21_pollreport_singlepg.pdf.
Petchoo, K., & Vanitsuppavong, P. (2013). Causal Relationship of Educational Management Factors Influencing Critical Thinking of Nursing Students, Nursing College Under the Jurisdiction of Ministry of Public Health. Journal of Nursing and Education, 6(2), 42-55. (in Thai)
Saenthawee, K. (2010). Behavior of Media Exposure and Awareness of Youth in Bangkok. Faculty of Mass Communication Technology. (in Thai)
Sirijareon, N. (2014). Communication for the Knowledge Building and Skills Enhancing in the In-Depth Internet Literacy Level of Thai Youths from The Three Main Component. Veridian E-Journal, 7(3), 322-341. (in Thai)
Tangpanitdee, W., Kaewphakdee, C., Wongstaphatphat, S., & Piyasit, N. (2013). The Study Compares Opinions Based on Expectations and Opinions. According to the Actual Situation for Teaching and Learning with English Language of Nursing Students, Rama Nurse Journal, 19(3), 417-427. (in Thai)
Tansuwan, J. (2008). Training Results for the Development of Media Literacy of Suan Dusit Rajabhat University students. Journal of Behavioral Science, 14(1), 21-32. (in Thai)
Thanormchayathawat, B., Vanitsuppavong, P., Niemted, W., & Portanatanti, N. (2016). 21st Century Skills: The Challenges to Student Development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(2), 208-222. (in Thai)
Thi Thu Ha, N., & Jongkonklang, S. (2018). A Study of 21st Century Learning Skills for High School Students in Cao Bang Province, Vietnam. KKU Research Journal of Humanities and Social Science, 6(2), 14-24. (in Thai)
Thipkrongtham, O., Prapa, T., & Reangsri, S. (2017). Factors Affecting Learning Organization in the 21st Century for Benjaburapha Subarea Teachers Under the Jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office. Narkbhut Parritat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University (JGED), 9(1),97-108. (in Thai)
Trakanchan, N. (2016). 21st Century Learning Skills of Faculty of Nursing Students Ratchathani University in 2016. Retrieved Setember 10, 2018 from http://jes.rtu.ac.th/rtunc2016/pdf. (in Thai)
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Turner, K., Leungratanamart, L., Niranrat, S., Jarnarerux, J., Wattanakull, B., & Reunreang, T. (2015). Twenty First Century Skills of Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(2), 178-193. (in Thai)
West, M. A., & Slater, J. A. (1996). The Effectiveness of Team Working in Primary Health Care. London: Health Education Authority.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้