ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม: การเรียนรู้เพื่อเข้าใจวิถีวัฒนธรรมสุขภาพของผู้รับบริการ
คำสำคัญ:
ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม, การเปิดใจ, การตระหนักรู้ในตนเองบทคัดย่อ
ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม (Cultural Humility) เป็นเครื่องมือสำคัญของทีมสุขภาพทุกระดับในการเรียนรู้เพื่อยอมรับและเข้าใจวิถีวัฒนธรรม ความเชื่อ และพฤติกรรมสุขภาพผู้รับบริการ ในขณะเดียวกันก็เป็นกระบวนเรียนรู้ตนเอง รู้จักตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการสะท้อนคิด พิจารณาตนเองอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การมีส่วนร่วมระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการในการพัฒนา หรือการพัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมตามบริบทของพื้นที่ต่อไป องค์ประกอบของความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม ประกอบด้วย 1) การเปิดใจ (Openness) เรียนรู้ ความคิด ความเชื่อ ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) เป็นการรับรู้ศักยภาพที่เป็นจุดแข็ง ความรู้ความสามารถตนเอง และข้อจำกัดตนเอง 3) การลดอัตตาตนเอง (Egoless) หรือปรับทัศนคติต่อตนเอง ในการมองผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกับตนเอง 4) การมีปฏิสัมพันธ์ (Supportive Interaction) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างกลุ่ม มีการแบ่งปัน การร่วมรับผิดชอบ 5) การสะท้อนคิดและวิเคราะห์ต่อตนเอง (Self-Reflection and Critique) เพื่อการเรียนรู้ในการเข้าใจผู้อื่น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอแนวคิดความนอบน้อมทางวัฒนธรรม หลักการประเมินภาวะสุขภาพในมิติทางวัฒนธรรม และการเรียนรู้ เข้าใจ วัฒนธรรมสุขภาพของผู้รับบริการ
References
Fahlberrg, B., Foronda, C., & Baptist, D. (2016). Cultural Humility: The Key to Patient/Family Partnerships for Making Difficult Decisions, Nursing, 46(9), 14-16.
Fetterman, D. M. (1998). Ethnography Step by Step (2nd ed.). California: Sage.
Helman, C. (2007). Culture, Health and Illness (5th ed). New York: Hodder Arnold.
Leininger, M. M. (2002). Culture Care Diversity and Universality: A theory of Nursing. California: Jones and Bartlett.
Ministry of Public Health. (2016). Strategy Plan of Ministry of Public Health 2017-2021. (in Thai)
Puttaruksa, L., Khumyu, A., & Dallas, J. C. (2017). Guidelines for Assessment of Health Status According to Cultural Dimensions of Transcultural Service Recipients Based on Expert Perspective. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 3(28), 36-45. (in Thai)
Roper, J. M., & Shapira, J. (2000). Ethnography in Nursing Research. California: Sage Publications, Inc.
Santisombat, Y. (2013). Humans and Culture. (4th ed). Thammasat University. Bangkok. (in Thai)
Siriphan, S., & Songwathana, P. (2014). Teaching Methods for Enhancing Cultural Competency of Nursing Students Based on Theoretical Concepts of Campinha-Bacote. Princess of Naradhiwas Journal, 6(1), 146-157.
Spradley, J. P. (1980). Participant Observation. Philadelphia: Holt, Rinehart and Winston.
Suttharangsee, W. (2005). Leininger’s Transcultural Nursing. Songklanagarind Journal of Nursing, 2(25), 95-115.
Udompittayason, W. (2015). Living with Hypertension: An Ethnographic Study of Thai-Melayu Elderly in a Province of Southern Thailand. (Unpublish Doctoral Dissertation). Prince of Songkla University. Songkhla, Thailand.
Yeager, K. A., & Bauer-Wu, S. (2013). Appl Nurs Res, 26(4), 1-11 doi: 10.1016/j.apnr.2013.06.008
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้