ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลา: กรณีศึกษาชุมชนผังเมือง 4

ผู้แต่ง

  • อัญชลี พงศ์เกษตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • ซูฮัยลา สะมะแอ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • กมลวรรณ วณิชชานนท์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • กรกฎ พงศ์เกษตร โรงพยาบาลยะลา
  • ศุภฤกษ์ วิทยกุล ศูนย์สุขภาพชุมชนผังเมือง 4

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ 80 คน ที่มารับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนผังเมือง 4 เทศบาลนครยะลา สุ่มโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ (Thai Geriatric Depression Scale, TGDS) ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยได้ค่าความเชื่อมั่นภาพรวมเท่ากับ 0.93 และแบบประเมินภาวะซึมเศร้ามีค่าเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 77.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ศาสนา การมีบุคคลที่สามารถพูดคุยเมื่อเกิดความกังวลใจ และรายได้ของครอบครัว ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาวะสุขภาพ ความสามารถด้านร่างกาย (r=-.302, -.344, P<.01 ) และพฤติกรรมสุขภาพ  (r=-.204, P<.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ ได้แก่อายุ และปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ    (r= .299, .282, P<.01)

ควรจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ ดำเนินการผ่านชมรมผู้สูงอายุ เป็นการเพิ่มโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำหลักศาสนาและการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา รวมทั้งทำความเข้าใจกับครอบครัว และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณให้ผู้สูงอายุรายเดือนจากรัฐบาล

References

Akakul, T. (2000). Research Methods in Behavioral and Social Science. Rajabhat Institute Ubon Ratchathani. (in Thai)

Aunkaew, W., & Kuhiranyarat, P., (2015). The Prevalence of Depression in the Elderly in Responsibility of Health Promotion Center Praw Sub-District, Muang District, Nong Bua Lamphu Province, Journal of community health, 3(4), 577-589. (in Thai)

Gray, R. (2013). Elderly Care: The Happiness and Stress. The Population Research Institute and Social Research, Mahidol University. Thailand. (in Thai)

Jullamate, P., Puapan, S., & Truong, P. V. (2017). Predicting Factors of Depression among Caregivers of Elderly Affected by Stroke. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 104-118. (in Thai)

Katsing, W. (1995). Meaning and Interpretation. Educational Research News, 18(3), 8-11. (in Thai)

Namwong, A. (2018). Selected Factors Related to Depression of the Elderly, Chronic Diseases in the Community. Journal of Nursing, Public Health and Education, 19(2), 94-105. (in Thai)

Phungwarin, N. (1994). Model to Measure Depression in the Elderly in Thailand. Siriraj Journal, 46(1), 1-9. (in Thai)

Phuttameta, M., & Sunthonchaiya, R. (2016). Selected Factors Related to Depression of the Older Persons with Depressive Disorder in the Central Region. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 30(2), 69-82. (in Thai)

Polyeam, I., Siri, S., Tachaboonserm, P., & Sujirawat, D., (2017). Depression of Elderly with Non-Communication Disease in Roi et Province. Conference of Khon Kaen University. March 28, 2017. (in Thai)

Paungrod, N. (2015). The Study on Depression in Nonthaburi Province Elderly. Princess of Narathiwas Journal, 2(1), 2015. (in Thai)

Sanguancheo, A., Mingmai, K., & Detboon, P. (2017). Predicting Factors of Depression of the Elderly in Pathumthani Province. Conference and Presentation of the National Academic Research. May 25, 2017. (in Thai)

The Research and Development Institute Foundation Elderly Thailand. (2018). The Situation of the Elderly Thailand 2559. Retrieved January 27, 2019 from https://thaitgri.org/?p=38427.

Tongrodkam, R. (2017). Depression in the Elderly. Retrieved August 20, 2018 from https://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_8.html.

Wiersma, W., & Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson. (in Thai)

Wongpanarak, N., & Chaleoykitti, S. (2014). Depression: A Significant Mental Health Problem of Elderly. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 15(3), 24-31. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08