การพัฒนารูปแบบการทำงานส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงของทีมสุขภาพในชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุดา วงษ์สวัสดิ์ กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • ดุษฎี โยเหลา สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นริสรา พึ่งโพธิ์สภ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การส่งเสริมสุขภาพจิต, ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง, การส่งเสริมสุขภาพจิต ผู้สูงอายุ, ทีมสุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงของทีมสุขภาพในชุมชน ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ 1) ก่อนดำเนินการวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์ และ 2) ระยะดำเนินการวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์ จำนวน 2 วงจร แต่ละวงจรประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนการสร้างทฤษฎีบทเชิงวิพากษ์ และขั้นตอนการวิจัยปฏิบัติการ โดยดำเนินการวิจัยในพื้นที่จังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 - พฤษภาคม 2560 ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยได้แก่ 1) ผู้ร่วมวิจัย คือ ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัคร ครอบครัวของผู้สูงอายุ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มเสียง 2) ผู้ให้ข้อมูล (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ผู้สูงอายุในพื้นที่วิจัย อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต พื้นที่จังหวัดนครนายก จำนวน 48 คน พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 33 คน ในระยะก่อนดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแนวทางการสังเกต ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีสังเกตการกระทำทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการทำสุนทรียสนทนา (Dialogue) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกเรื่องเล่าแบบมีโครงสร้าง (Story Telling) เรื่องเล่าเร้าพลัง (Power of Story Telling) และแนวทางการสังเกต ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีสังเกตการกระทำทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และสุนทรียสนทนา และระยะสิ้นสุดกระบวนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแนวทางการสังเกต ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีสังเกตการกระทำทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ระดมสมอง และสัมภาษณ์เชิงลึก  วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เชิงปริมาณ ใช้จำนวนและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า

รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในชุมชน การพูดคุย รับฟัง และสัมผัส 2) การเยี่ยมเยือนและจัดกิจกรรมที่บ้านของผู้สูงอายุบ่อยครั้ง 3) การดูแลสุขภาวะและความเป็นอยู่ 4) การช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว 5) การเอาใจและตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ 6) การอดกลั้นและปรับตัวเข้าหาผู้สูงอายุ 7) เป็นสื่อกลางจัดการความขัดแย้งระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ และ 8) การให้คำแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุ

Author Biographies

สุดา วงษ์สวัสดิ์, กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F158534%2F4&t=1556677775497?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556677775497?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556677775499

ดุษฎี โยเหลา, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F158534%2F4&t=1556677802473?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556677802474?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556677802476

นริสรา พึ่งโพธิ์สภ, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F158534%2F4&t=1556677823849?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556677823849?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556677823850

References

Bandura, A. (1975). The Ethics and Social Purposes of Behavior Modification. In C. M. Franks G. T. Wilson (Eds.), Annual Review of Behavior Therapy Theory and Practice (Vol.3). New York: Brunner/Mazel.

Bandura, A. (1977). Self-Efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological
Review, 84, 191-215.

Choorat, W., Sawangdee, Y., & Arunraksombat, S. (2012). Factors Influencing the Risk of Having Mental Health Problems of Thai Elderly. Thai Population Journal, 3(2), 87-92. (in Thai).

Department of Mental Health. (2015). Directional Frame of Mental Health Development and Strategic Plan of Department of Mental Health. (Brochures). Bangkok: Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (in Thai).

Gadudom, P., & Hemchayat, M. (2011). Effects of an Elderly Health Promotion Program in Bangkaja Sub-District Municipality, Amphur Muang, Chanthaburi. Journal of Phrapokklao Nursing College, 22(2), 61-70. (in Thai).

Grundy, S. (1982). “Three Modes of Action Research”, In Stephen, Kemmis and Robin,
McTaggart (Ed.), Action Research Reader. (3rded.). PP 353-364.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Reader. (3rd ed). Victoria: Deakin University Press.

Patanung, B., & Chamruspanth, V. (2013). Health Promotion System for Being Active Ageing among Elderly People in Non Udom Sub-District, Muangyang District, Nakhonratchasima Province [thesis]. Khon Kaen: College of Local administration, KhonKaen University. (in Thai).

Ruayboonsong, T. (2009). Self-Esteem, Social Support and Mental Health of the Elderly at the Elderly club, Srithunya Hospital. [thesis]. Bangkok: Faculty of Social Sciences, Kasetsart University. (in Thai)

Sitthisarn, T. (2009). Factors Influence on the Mental Health of the Elderly in the Kamphaengsaen Hospital Elderly Club, NakhonPathom Province. Journal of Social Sciences and Humanities, 35, 160-72. (in Thai)

Sripan, J. (2011). Health Promotion Behaviors of the Elders in Langsuan District, Chumphon Province. Journal of Yala Rajabhat University, 6(2), 123-30. (in Thai)

Suvanashiep, S. (2 December 2011). Psychiatrist’s Experience in Elderly Care. [Interview] Nonthaburi: Bureau of Mental Health Technical Development Meeting Room. (in Thai).

Thammaseang, A., Kankhwao, B., & Kankhwao, P. (2011). Caregiving of Elderly Persons by Family and Community Supportive in Urban and Suburban Community. KhonKaen Province. Khonkaen: Sirindhorn College of Public Health. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01