ความร่วมรู้สึกในการพยาบาล: คุณลักษณะพยาบาลที่ปัญญาประดิษฐ์ทดแทนไม่ได้
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ปัญญาประดิษฐ์, ความร่วมรู้สึกบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอความหมาย องค์ประกอบและการส่งเสริมความร่วมรู้สึกในการ พยาบาล และเสนอกระแสของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligena: AI) ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งใน ปัจจุบัน AI เริ่มมีบทบาทที่สูงขึ้นในการดูแลสุขภาพตั้งแต่เล็กน้อยจนสามารถวินิจฉัยโรค และแม้กระทั่งผ่าตัด แทนแพทย์ได้ โดยเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของความร่วมรู้สึกในการพยาบาลว่า เป็นคุณลักษณะสำคัญของ พยาบาลที่ไม่สามารถทดแทนด้วย AI เนื่องจากเกิดขึ้นเฉพาะในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เท่านั้น และเสนอตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลที่ส่งผลให้นักศึกษาพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลง ความร่วมรู้สึกในการพยาบาล ความหมายของความร่วมรู้สึกในการพยาบาลคือ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของผู้รับบริการ และสื่อสารความเข้าใจออกมาทางคำพูดหรือการปฏิบัติต่อผู้รับบริการ โดยประกอบ ด้วยความร่วมรู้สึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความคิด คือ สามารถระบุอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม ของผู้รับบริการ พร้อมทั้งระบุสถานการณ์หรือสิ่งชี้นำ ตลอดจนสาเหตุของการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและ พฤติกรรมนั้น ๆ ในสถานการณ์ที่ผู้รับบริการประสบ 2) ด้านอารมณ์ คือ สามารถตระหนักรู้ถึงอารมณ์ความ รู้สึกของตนเองที่เหมือนกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้รับบริการ และ 3) ด้านพฤติกรรม คือ สามารถสื่อสารถึง ความเข้าใจผู้รับบริการออกมาทางคำพูดและทางการปฏิบัติการพยาบาล ถึงแม้เทคโนโลยีจะล้ำยุคเพียงใด มี AI เข้ามาช่วยดูแลสุขภาพมากเท่าใด แต่มนุษย์ก็ยังคงมีความ ต้องการด้านอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการการตอบสนองจากมนุษย์ด้วยกัน การจัดการเรียนการสอนทางการ พยาบาลที่เป็นการปฏิบัติในการดูแลมนุษย์ จึงควรมีการจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อ ส่งเสริมความร่วมรู้สึกในการพยาบาลให้แก่นักศึกษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปลูกฝังเป็นคุณลักษณะ ประจำตัวพยาบาลที่เข้าถึงจิตใจผู้รับบริการและเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลผู้รับบริการต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้