บทบาทครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

ผู้แต่ง

  • ปิ่นนเรศ กาศอุดม
  • ฆนรส อภิญญาลังกร
  • กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ
  • นิมัสตูรา แว

คำสำคัญ:

บทบาทของครอบครัว, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์ผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อคุณภาพ ชีวิตและการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ตลอดจนให้ข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ได้แก่ การ เปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ต่าง ๆ ทุกระบบในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ มักจะมีผลต่อเนื่องและเชื่อมโยงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสังคมด้วย เพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาการทำงานและการทำหน้าที่ต่าง ๆ มีการ สูญเสียอำนาจ อาจจะก่อให้เกิดความเครียด ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ และการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจสังคม ซึ่งหมายถึงการมีรายได้ลดลง บทบาททางสังคมเปลี่ยนไป ทำให้ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง อุปนิสัยและอารมณ์ ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการอยู่ในสังคม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี สื่อสาร ก็เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวัน การปรับตัวและการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ของผู้สูงอายุ อีกด้วย ครอบครัวมีความสำคัญในการดูแลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยจะต้องมีบทบาทในการ ดูแล 4 ด้าน ดังนี้ 1) การดูแลด้านร่างกาย เช่น การจัดหาอาหารและการรับประทานอาหาร การพักผ่อนนอน หลับ การจัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมปลอดภัย จัดหาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้เหมาะสม การพาไปรับการตรวจ สุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จัดหาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ เป็นต้น 2) การดูแลทางด้านจิตใจ เช่น การเอาใจใส่พูดคุยอย่างสม่ำเสมอ การให้ความรักความเคารพ การยกย่องยอมรับนับถือ การพาผู้สงอายุ ไปท่องเที่ยวตามโอกาสและสถานที่ที่เหมาะสม การแสดงให้เห็นความสำคัญตามวันสำคัญต่าง ๆ 3) การดูแล ด้านสังคม เช่น การแสดงความยินดีที่จะพาผู้สูงอายุไปร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม ตามที่ผู้สูงอายุต้องการ เป็นต้น 4) การดูแลด้านเศรษฐกิจ โดยการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือในด้านการเงินอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ และไม่ควรเบียดเบียนด้านการเงินของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ครอบครัวควรให้ความสำคัญ และความสนใจในนำเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่มาใช้กับผู้สูงอายุ อย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว ช่วยให้ ผู้สูงอายุอยู่ในสังคมและครอบครัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณค่าในตนเอง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อการ เรียนรู้ประสบการณ์แปลกใหม่ ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในการดูแลสุขภาพ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21