การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: แนวปฏิบัติในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา เมฆกมล

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, แนวปฏิบัติในชุมชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งเสนอแนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน ให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของประเทศไทยในปี ค.ศ. 2016 พบว่า อัตราการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่อย่างเดียว นาน 6 เดือน เท่ากับร้อยละ 23.1 ซึ่งเป็นระยะที่มารดากลับไปอยู่บ้านและในชุมชนที่มารดา อาศัยอยู่ ทั้งที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ก่อให้เกิดผลดี ต่อสุขภาพมารดาและทารก สังคม และประเทศชาติ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ การลงทุนทางด้านร่างกายและจิตใจต่อทารก ทำให้ประชากรมีคุณภาพ ลดปัญหาทางด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สำหรับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน อย่างน้อยร้อยละ 50 เป็นผลมาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการที่สัมพันธ์กับการสนับสนุนการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ในชุมชน ได้แก่ การสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน และสังคม การสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุข ดังนั้นการมีแนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนที่สอดคล้องกับปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ การติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดพร้อมกับครอบครัว โดยพิจารณาร่วมกับความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การส่งเสริมให้มีกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การพิจารณาเลือกบุคลากรสาธารณสุข ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการติดตามเยี่ยมหลังคลอด และการใช้สื่อสังคมออนไลน์สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21