รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต สำหรับผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
สุขภาวะทางจิต, รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม, ผู้สูงอายุชายแดนใต้ของประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัย และพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสุขภาวะทางจิต ของผู้สูงอายุจังหวัด ชายแดนใต้ของประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มฯ และ 3) เพื่อประเมินผลการ ใช้รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุชายแดนใต้ฯ วิธี ดำเนินการประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางจิต สำหรับผู้สูงอายุชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย จำนวน 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 วิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการปรึกษา เชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุฯ ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการปรึกษา เชิงจิตวิทยา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน วิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.84 ระยะที่ 3 การ ประเมินผลการใช้รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 8 คน ที่ได้มา จากการเลือกแบบเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทดลองใช้รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ฯ การ จัดการสนทนากลุ่ม ใช้สถิติทดสอบของฟรีดแมน สถิติวิลคอกซัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุชายแดนใต้ของประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ตัวแปร คือ ได้แก่ ด้านการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ความเป็นตัวของตัวเอง ความสามารถในการจัดการ กับสิ่งแวดล้อม การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และด้านการเจริญเติบโตของความเป็นบุคคล ซึ่งมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ c2 = 165.92, df =139, p= 0.05935, RMSEA=0.022, GFI=0.96, AGFI=0.93/df =1.19 2. รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ ของประเทศไทย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อตั้งกลุ่ม ขั้นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสมาชิก ขั้น ดำเนินการ และขั้นยุติการให้คำปรึกษา 3. ค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตโดยรวมหลังการทดลอง และติดตามผล สูงกว่าก่อนการทดลอง ระยะหลัง การติดตามผลสูงกว่าหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการสนทนากลุ่มพบว่า ผู้สูงอายุ พึงพอใจกับการรับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตได้ดี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้