ผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกายด้วยยางยืด และตารางเก้าช่อง ต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุก ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน

ผู้แต่ง

  • พรชัย จูลเมตต์
  • อวยพร ตั้งธงชัย
  • นฤมล ปทุมารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ใน การออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่อง ต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุก ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่อาศัยอยู่ใน ชุมชน จำนวน 60 ราย ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการออกกำลังกายด้วยยางยืดและตารางเก้าช่อง สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนเป็นระยะ เวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ แบบวัดความผาสุกในชีวิตโดยทั่วไป ที่มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ .91 และ .90 ตามลำดับ และรูปแบบการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการออกกำลังกาย ด้วยยางยืดและตารางเก้าช่อง สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนที่มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสถิติการ ทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หลังการทดลองมากกว่าก่อนการ ทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มทดลองมีคะแนนความผาสุก หลังการทดลอง (M=96.0, SD=3.48) มากกว่าก่อนการทดลอง (M=48.20, SD=5.81) และมากกว่ากลุ่มควบคุม (M =50.07, SD=6.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น พยาบาลควรนำรูปแบบการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการออกกำลังกายด้วย ยางยืดและตารางเก้าช่อง สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนนี้ไปใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุในกลุ่มนี้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21