การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ สังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, การเฝ้าระวัง, WMSDs REBA, พนักงานเก็บขยะบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบ โครงร่างและกล้ามเนื้อ อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ 2) พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน และ 3) วัดและประเมินผลก่อน และหลังการใช้รูปแบบวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน เก็บขยะสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง จำนวน 129 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Chi-Square and Fisher Exact Tests ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยนำผลการศึกษาในระยะที่ 1 และจากการทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาพัฒนารูปแบบระยะที่ 3 การวัดและประเมินผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบกลุ่ม ตัวอย่าง เป็นพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 16 คน โดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมิน และ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยสถิติ Independence t-test Fisher Exact test ผลการวิจัย พบว่า 1. อายุ การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย และการทำงานที่ต้องออกแรงมาก และอายุการทำงาน มีความ สัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. รูปแบบประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ตรวจสุขภาพ ตามความเสี่ยง การอบรม ปรับปรุงสภาพงาน และการใช้นวัตกรรม ส่วนปัจจัยงาน เป็นการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ด้านการยศาสตร์ ได้แก่ ค้นหาสภาพปัญหาจากการทำงาน ประเมินความเสี่ยงต่ออาการ WMSDs และร่วม ประเมินและสรุปผล จัดเป็นกิจกรรม 6 สัปดาห์ 3. คะแนนความรู้เกี่ยวกับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขั้นตอนการทำงานที่ได้รับ การจัดการความเสี่ยงทั้งหมด 10 ขั้นตอนการทำงาน (ตั้งแต่ระดับคะแนน 2-5) สามารถลดระดับความเสี่ยงต่อ ระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างได้ 8 ขั้นตอนการทำงาน คิดเป็น ร้อยละ 80.0 หลังใช้รูปแบบ พนักงานเก็บขยะมี ความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้ออันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานในตำแหน่งไหล่และ หลังส่วนล่าง ลดลง 4.5 และ 2.8 เท่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้