สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
: ภาวะโภชนาการ, เด็กก่อนวัยเรียน, ครอบครัวและชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็ก ก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ดำเนินการเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 วิธีเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ เด็กวัยก่อนเรียนและผู้ปกครองทุก คนในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ แบบประเมินพฤติกรรมการเตรียมอาหารของครอบครัว แบบ ประเมินการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว และแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคเหมาะสมตามวัย และการบริโภคอาหาร ผ่านการหาความตรงของเนื้อหาได้ค่า IOC เท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์อัลฟา ของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่และร้อยละ ระยะที่ 2 วิธีปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านโภชนาการของ เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 6.97เริ่มอ้วน คิดเป็นร้อยละ 5.81 มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 1.16 ผอม ร้อยละ 1.16 พฤติกรรมการเตรียมอาหารและ การรับประทานอาหารของครอบครัว มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (µ=2.32 ,σ=0.56) ส่วนใหญ่ครอบครัว รับประทานอาหารสำเร็จรูปบรรจุซอง/กระป๋อง (µ=3.33, σ=0.66) พฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมกัน ของครอบครัวอยู่ในระดับดี (µ=3.33, σ=0.32) ส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลารับประทานอาหารร่วมกันในการพูดคุยปัญหา ของครอบครัว (µ=3.60, σ=0.55) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม พบว่า อยู่ในระดับดี (µ=2.85, σ=0.40) ผลการสนทนาด้านอาหารและภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน พบว่า ส่วนใหญ่เด็กจะมีแนวโน้ม ไปทางน้ำหนักเกิน อ้วน ท้วม เด็กผอมก็ยังมีแต่เริ่มลดลง เด็กมักจะติดรสหวานมาก จะกินหนักไปทางแป้ง ไขมัน เด็กไม่กินผัก แม้เป็นชิ้นเล็กมาก ดังนั้นทางศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จัดทำเป็นนโยบายของ ศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อวางแผนร่วมกันระหว่างอาจารย์ประจำศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการเตรียมอาหารและการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้