ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียม พระราชทานของโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ
  • ปฏิภัทร เคลือบคล้าย
  • ลีละชาติ ประเสริฐ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, การดูแลฟันเทียม, โครงการฟันเทียมพระราชทาน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทานโรงพยาบาล วังวิเศษ จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในโครงการฟันทียมพระราชทานของโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัด ตรัง จำนวน 160 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบมีเค้าโครงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของแบบจำลอง PRECEDE-PROCEED แบบสัมภาษณ์ได้รับ การตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และค่าความเชื่อมั่น ของแบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การเข้าถึงสถานบริการทันตกรรม การได้ รับข้อมูลข่าวสารการดูแลสุขภาพช่องปาก แรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปาก เท่ากับ .82, .72, .72, .78, .84 และ .83 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการดูแลแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.4 รองลงมา คือ ระดับสูง และระดับต่ำ ร้อยละ 45 และ 0.6 ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน พบว่า ตัวแปรจำนวน 4 ตัวแปร ที่สามารถ อธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และร่วมกันอธิบายการผันแปรของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 57 คือ การเข้า ถึงสถานบริการทันตกรรม ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก แรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพ ช่องปาก และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนั้น การมาพบทันตแพทย์และทันตบุคลากรเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันปลอมอย่างสม่ำเสมอ การจัดบริการทันตกรรมที่เข้าถึงได้ง่ายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ โปรแกรมทันตสาธารณสุขเพื่อ เสริมสร้างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการดูแลฟันเทียม และสุขภาพช่องปากให้กับผู้สูงอายุ ควรดำเนินการร่วมกับญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21