การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) มุ่งสู่การแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบคู่เสี่ยว
คำสำคัญ:
ระบบสุขภาพอำเภอ, โรคเรื้อรัง, คู่เสี่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ มุ่งสู่การแก้ ปัญหาโรคเรื้อรังแบบคู่เสี่ยว อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบ ในการประเมิน เก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม จากบุคลากร ทางด้านสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ป่วย จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านบริบท โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย และยุทธศาสตร์ ของกระทรวงสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพ และวิถีชีวิตวัฒนธรรม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรพร้อมและเพียงพอ ผู้นำให้การสนับสนุนดี งบประมาณเพียงพอ องค์ความรู้สำคัญคือวัฒนธรรมการผูกเสี่ยว ใช้ข้อมูลการเจ็บป่วย สังคมและภูมิศาสตร์มา จัดการโครงการ และต้นทุนทางสังคมที่ดี 3) ด้านกระบวนการ มีการสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน คัดเลือกและ การจับคู่เสี่ยว ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญผูกข้อมือเสี่ยว ค้นหาสาเหตุและประเมินปัญหาคู่เสี่ยว ดูแลคู่เสี่ยว จัดการ ปัญหาที่แท้จริง การติดตามดูแลคู่เสี่ยวที่บ้าน อยู่ภายใต้กลไกการประสานงานทุกระดับ และ 4) ผลการพัฒนา พบว่า มีคู่เสี่ยวจำนวน 81 คู่ (162 คน) จำแนกเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 47 คู่ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 34 คู่ หลัง จากเข้าร่วมโครงการ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือด และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถ ควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น และทั้งสองกลุ่มมีอัตราการขาดนัดลดลง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้