ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และลดการรับรู้อุปสรรค ต่อพฤติกรรม การรับประทานอาหารในผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดหัวใจ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, โรคหลอดเลือดหัวใจ, มุสลิมบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และ การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย มุสลิมโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการรักษาแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลปัตตานี เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตาม คุณสมบัติที่กำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ในเรื่อง เพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อ ด้านสุขภาพ ของ Becker (1974) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวม รวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมุสลิม โรคหลอดเลือดหัวใจ มีค่าความตรงตามเนื้อหา (CVI) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 และ .70 ตามลำดับ และแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีค่าความตรงตามเนื้อหา (CVI) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 และ .73 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Dependent t-test และ Independent t-test ผล การวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดหัวใจกลุ่มทดลองภาย หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคสูง (M=45.95, SD=2.95) กว่าก่อนได้รับ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค (M=28.55, SD=2.97) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค์สูงกว่า (M=45.95, SD=2.95) กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (M = 29.91, SD= 2.52) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค มีผลต่อการช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วย มุสลิมโรคหลอดเลือดหัวใจ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดี เหมาะสมเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้