ผลของโปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล หน่อแก้ว
  • ปาจรีย์ ตรีนนท์
  • ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ
  • นวพล แก่นบุปผา
  • สำเร็จ เทียนทอง
  • ชนุกร แก้วมณี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง, ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน, ทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง สุ่มอย่างง่ายจากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 64 คน โปรแกรมสอนเป็นการบรรยายความรู้ การใช้สื่อ วีดิทัศน์ การฝึกทักษะจาก 4 ฐานปฏิบัติในสถานการณ์จำลองร่วมกับหุ่นจำลอง สมรรถนะสูง และการสะท้อน คิดการเรียนรู้ เครื่องมือวิจัยมีค่าความเที่ยง CVI 0.90-1.00 ค่าความเชื่อมั่นแบบวัดความรู้ KR-20 เท่ากับ .74 แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน 95.7% ค่าสถิติ Cohen’s Kappa เท่ากับ .92 และแบบประเมินความพึงพอใจมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .92 ผลวิจัย พบว่าโปรแกรมสอนช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ p<0.01ทั้งหลังสอนทันที ติดตามหลังสอน 1 เดือน และ 3 เดือน (t=33.61, 31.20, และ 29.90 ตามลำดับ) เปรียบเทียบคู่ทักษะหลัง สอนทันที หลังสอน 1 เดือน หลังสอน 3 เดือน สูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05)กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจ โปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองระดับมาก (M=4.61, SD=.36) วิทยาลัยพยาบาล ควรบูรณาการโปรแกรมสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองนี้ในหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษา พยาบาลสามารถช่วยผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างมีคุณภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21