การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ โดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

ผู้แต่ง

  • มาลี คำคง
  • มาริสา สุวรรณราช
  • สกุนตลา แซ่เตียว

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ, แนวทางอาหารของแม่, อาหารและโภชนาการ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และพัฒนารูปแบบการบริหาร จัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุโดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ กลุ่ม ตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบประเมินพฤติกรรมบริโภคและภาวะโภชนาการ ได้ค่า ความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการชมรมผู้สูงอายุ และอาจารย์พยาบาล จำนวน 14 คน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 70.92 เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ร้อยละ 27.08 ครอบครัวผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเตรียมอาหารและเครื่องปรุงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.27, SD= 0.54) มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมกันอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.10, SD=0.78) และการศึกษาเชิง คุณภาพ พบว่า ผู้สูงอายุเตรียมอาหารและรับประทานอาหารไม่เฉพาะเจาะจงกับวัย รับประทานอาหารควบคุม โรคและอาหารเพื่อสุขภาพ มีการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวน้อย จัดอาหารแบบทั่วไปให้สมาชิก ทุกคนเลือกรับประทานให้เหมาะกับภาวะสุขภาพตนเอง 2. รูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุโดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ดำเนินการ 2 ระบบ ได้แก่ 1) สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมด้วย 4 กิจกรรม คือ ก) สื่อสารสร้างการรับรู้ สถานการณ์ปัญหา ข) จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินการ ค) สร้างความตระหนักด้านอาหารและ โภชนาการและ ง) ศึกษาสถานการณ์ด้านอาหาร โภชนาการ และภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 2) บริหาร จัดการโดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ประกอบด้วยอาหารสะอาด มีโภชนาการดี และด้วยความรัก ควรนำผลการดำเนินการไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการในผู้สูงอายุใน บริบทพื้นที่ต่าง ๆ และติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21