ผลของการใช้กระบวนการจิตตปัญญา ต่อความรู้ในการวางแผนครอบครัว ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
กระบวนการจิตตปัญญา, การวางแผนครอบครัว, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การวางแผนครอบครัว ก่อนและหลังการใช้กระบวนการจิตตปัญญาของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดชัยนาท จำนวน 30 คน ที่ได้จากการสุ่มแต่ละชั้นปี ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก คือ 1) การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ 2) ความรักความเมตตา 3) การเชื่อมโยงสัมพันธ์ 4) การเผชิญความ จริงและความต่อเนื่อง 5) ความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง 6) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบวัดระดับความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติค่า Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังใช้กระบวนการจิตตปัญญา (M=12.93, SD=2.78) สูงกว่าก่อนใช้กระบวนการ จิตตปัญญา (M=10.27, SD=2.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่ากระบวนการจิตตปัญญา ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้ที่เป็นเหตุผลต่อการวางแผนครอบครัว ผลการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้รับบริการในกลุ่มวัยรุ่นเพื่อส่งเสริมความรู้ในการวางแผน ครอบครัวและป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้