ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • วาลินี โสมณะ
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์
  • สมเกียรติยศ วรเดช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, วัยรุ่น, นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 200 คน โดยการสุ่มอย่างเป็น ระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาด้านการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์เท่ากับ 0.75, 0.87, 0.82 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า 1. การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (M=42.20, SD=4.59, 57.50%) ทัศนคติ (M=32.72, SD=4.59, 50.00%) และความรู้ (M=6.98, SD=2.35, 50.50%) ต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการตั้งครรภ์ (M=50.60, SD=6.06, 49.50%) อยู่ในระดับสูง 2. จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ พบว่า ประวัติเคยมี คนรัก/แฟน (OR=4.52, 95% CI : 1.83 ถึง 11.22) และการมีคนรัก/แฟนในปัจจุบัน (5.67, 2.66 ถึง 12.08) อาชีพของมารดา (2.02, 1.01 ถึง 4.03) การมีคะแนนการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (6.17, 1.85 ถึง 20.61) และ ทัศนคติ (9.10, 1.46 ถึง 56.83) ในระดับต่ำ มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ปัจจัยด้านการเคยมีคนรักหรือแฟน การมีคนรักหรือแฟนในปัจจุบัน อาชีพของมารดา การรับรู้ ข้อมูลข่าวสารในระดับต่ำ การมีทัศนคติในระดับต่ำ มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและส่งเสริมการสร้างทัศนคติที่ดี เพื่อลดการมี พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21