ผลของโปรแกรมการสอนสุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูกต่อความรู้ เจตคติ และการฉีดวัคซีน ป้องกันมะเร็งปากมดลูกของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน
  • รุ่งนภา จันทรา
  • ชุลีพร หีตอักษร
  • นิธิชา ธุวสินธุ์
  • นภชา สิงห์วีรธรรม
  • ลาลิน เจริญจิตต์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสอนสุขศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบเฉลี่ยความรู้ เจตคติ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม การสอนสุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูก และร้อยละการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ดำเนินการ วิจัยโดยใช้โปรแกรมการสอนสุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูก ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้การสะท้อนคิด เก็บรวบรวบข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบวัดเจตคติ และตรวจสอบการฉีดวัคซีน หาดัชนีความตรง เชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ทดสอบความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ ด้วยคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR 20) เท่ากับ .64 และแบบวัดเจตคติโดยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าที (Paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความรู้ของนักเรียนในการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หลังเข้าร่วมโปรแกรม การสอนสุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูก (M=0.84, SD=0.07) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการสอนสุขศึกษา เรื่องมะเร็งปากมดลูก (M=0.68, SD=0.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. คะแนนเฉลี่ยเจตคติของนักเรียนในการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หลังเข้าร่วมโปรแกรม การสอนสุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูก (M=3.87, SD=0.39) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการสอนสุขศึกษา เรื่องมะเร็งปากมดลูก (M=3.64, SD=0.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ของนักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่ 5 หลังเข้าร่วมโปรแกรมการ สอนสุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูกพบว่า เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 100

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-21