ประสบการณ์การเปิดหอผู้ป่วยไอซียูโรคหัวใจภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด: โรงพยาบาลตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา อุปนิสากร โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • ชลธิชา โภชนกิจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • จารุวรรณ บุญรัตน์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, หอผู้ป่วยไอซียูโรคหัวใจ, ทรัพยากรที่จำกัด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเปิดหอผู้ป่วยไอซียูโรคหัวใจภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดในบริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาเฮอเมนนิวติกซ์ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 14 ราย โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดหอผู้ป่วยไอซียูโรคหัวใจภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดในบริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบันทึกเทป นำข้อมูลมาถอดความแบบคำต่อคำและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของแวน มาเนน ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพ ตามเกณฑ์ของลินคอล์นและคูบา ผลการวิจัยพบว่า

ประสบการณ์การเปิดหอผู้ป่วยไอซียูโรคหัวใจภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดในบริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิ มี 5 ประเด็นดังนี้ 1) ร่วมคิดร่วมสร้างจากคนหน้างาน 2) ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง 3) หัวหน้าชั้นต้นคนสำคัญ 4) ให้โอกาสน้องทำพี่เป็นฝ่ายสนับสนุน และ 5) มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย

จากการศึกษาในครั้งนี้ควรมีการทบทวนการบริหารหอผู้ป่วยวิกฤตหรือหอผู้ป่วยโรคหัวใจบนพื้นฐานข้อจำกัดของทรัพยากรทั้งด้านอัตรากำลัง สถานที่ เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและมีความปลอดภัยสูงสุด

Author Biographies

สุพัตรา อุปนิสากร, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F153682%2F4&t=1556508704862?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556508704862?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556508704863

ชลธิชา โภชนกิจ, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F153682%2F4&t=1556508883629?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556508883630?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556508883631

จารุวรรณ บุญรัตน์, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F153682%2F4&t=1556508927098?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556508927099?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556508927101

References

Aoumtanee, A. (2010). Qualitative Research in Nursing. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Chotnopparatpat, P., Klongyut, S., & Kusum, W. (2013). Critical Care in Cardiac Dysfunction. In Kusum, W. (ed.). Critical Care Nursing: A Holistic Approach, pp.223-310. Bangkok: Sahaprachapanit. (in Thai)

Haruthai, C. (2010). Quality Criteria for Excellent Nursing Practice. (4th ed). Nursing Division, Ministry of Public Health. Bangkok: Tramcharernpanit. (in Thai)

Haupt, M. T., Bekes, C. E., Brilli, R. J., Carl, L. C., Gray, A. W., Jastremski, M. S., et al. (2003). Guidelines on Critical Care Services and Personel: Recommendations Based on a System of Categorization of Three Level Care. Critical Care Medicine, 31(11), 2677-2683.

Jeraphath, K. (2012). Principles of Ward Design for Patient Safety. In Jeraphath, V., & Jeraphath, K. (eds.). Patient Safety Management, Concepts, Procedures, and Clinical Safety Practices. 3rd eds. Bangkok: Eleven Color. (in Thai)

Marshall, J. C., Bosco, L., Adhikari, N. K., Connolly, B., Diaz, J. V., Dorman, T., et al. (2017). What is an Intensive Care Unit? A Report of the Task Force of the World Federation of Societies of Intensive and Critical Care Medicine. Journal of Critical Care, 37, 270-276.

Puttatri, V. (2008). Development Project for Tertiary Service System. Bangkok: National Health Security Office (NHSO) Office of Research for Development of Thai Health Coverage (OSH) for Health Systems Research Institute. (in Thai)

Tassanaarnanchai, P., & Prajusil. (2014). The Characteristics of Generation Y Professional Nurses. Kuakarun Journal of Nursing, 21(2), 126-138. (in Thai)

Techawattanapisan, D., Numpaya, K., Nualluk, J., & Plumboon, C. (2014). A Study of Viewpoints and Expectations of Generational Characteristics Between Generation X and Generation Y. Chulalongkorn Business Review, 36(141), 1-17. (in Thai)

Thommarot, T. (2015). Criteria for Critical Care and Intermediated Care Ward. Retrieved November 7, 2016 from: http://planning.md.kku.ac.th/upload_dmsg/090120158_132227pm_7931467.doc (in Thai)

Uppanisakorn, S., & Boonyarat, J. (2014). Caring for Intensive Care Unit Patients: Application of the FASTHUG and BANDAIDS Concepts. Thai Journal of Nursing Council, 29(3), 19-30. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29