รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 โดยใช้ระบบการจัดการข้อมูล OSCE ออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ชูกำเนิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • สุระพร ปุ้ยเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • จิรารัตน์ พร้อมมูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ตรีทิพย์ เครือหลี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านคลินิก, ระบบการจัดการข้อมูล OSCE ออนไลน์, วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านคลินิกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 โดยใช้ระบบการจัดการข้อมูล OSCE ออนไลน์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านคลินิก ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคลินิก 3) ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคลินิก และ 5) ประเมินผลและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคลินิก 

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านคลินิกที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้ามี 6 กิจกรรม ได้แก่  1.1) การวิเคราะห์ปัญหา 1.2) การกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอน 1.3) การวิเคราะห์ผู้สอน 1.4) การวิเคราะห์ผู้เรียน  1.5) การวิเคราะห์เนื้อหาการสอน และ 1.6) การเตรียมสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน  2) กระบวนการพัฒนาสรรถนะทางคลินิกโดยใช้ระบบการจัดการข้อมูล OSCE ออนไลน์ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ 2.1) ออกแบบและสร้างระบบการจัดการข้อมูล OSCE ออนไลน์ 2.2) การปฐมนิเทศผู้สอนและฝึกทักษะการประเมินผล OSCE ออนไลน์ 2.3) การปฐมนิเทศผู้เรียน 2.4) การจัดสอบเพื่อประเมินผลสมรรถนะทางคลินิกก่อนเรียน 2.5) การรายงานผลและวิเคราะห์ผลการสอบ OSCE ออนไลน์แก่นักศึกษา และ 2.6) การทบทวนความสามารถทางคลินิก 3) การบริหารจัดการขณะสอบ และ 4) การประเมินรูปแบบการพัฒนาสรรถนะทางคลินิก

ผลการประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านคลินิก พบว่านักศึกษามีความเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคลินิกโดยใช้ระบบการจัดการข้อมูล OSCE ออนไลน์ สามารถพัฒนาสมรรถนะทางคลินิกในภาพรวมได้ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่เห็นว่าสามารถพัฒนาได้มากที่สุดมี 2 ด้าน ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน ได้แก่ ด้านเปิดโอกาสวิเคราะห์ตนเอง และด้านเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติจริงมากที่สุด (M=4.49, SD=.75) และ (M=4.49, SD=.43) รองลงมา ได้แก่ การพัฒนาด้านปฏิบัติการพยาบาล (M=4.40, SD=.58) และที่มีคะแนนใกล้เคียงกันมาก ได้แก่ ด้านความสามารถสร้างความคิดรวบยอด (M=4.39, SD=.64) ส่วนที่มีคะแนนน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง (M=4.22, SD=.52)

References

Chukumnird, S., & Puicharoen, S. (2017). The Use of Objective Structured Clinical Examination (OSCE) in Nursing Education. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 236-248. (in Thai)

Harden, R. M., Stevenson, M., Downie, W. W., & Wilson, G. M. (1975). Assessment of Clinical Competence Using Objective Structured Examination. British Medical Journal, 1, 447-451. (in Thai)

Hochlehnert, A., Schultz, J. H., Möltner, A., Tımbıl, S., Brass, K., & Jünger, J. (2015). Electronicacquisition of OSCE Performance Using Tablets. GMS Zeitschrift für Medizinische Ausbildung, 32(4), 1-17.

Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development (Vol. 1). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Kropmans, T. J-B., Griffin, L., Cunningham, D., Walsh, D., Setyonugroho, W., Field, C. A., et al. (2015). Back to the Future: Electronic Marking of Objective Structured Clinical Examinations and Admission Interviews Using an Online Management Information System in Schools of Health Sciences. Journal of Health & Medical Informatics, 6(1), 2-6. DOI: 10.4172/2157-7420.1000182

Office of the Higher Education Commission. (2011). Thai Qualification Framework for Higher Education, Bangkok: Office of the Higher Education Commission. (In Thai).

Meskella, P., Burkea, E., Kropmans, T. J. B., Byrnea, E., Setyonugroho, W., & Kennedy, K. M. (2015). Back to the Future: An Online OSCE Management Information System for Nursing OSCEs. Nurse Education Today, 35(11), 1091-1096.

Romito, L., Schrader, S., & Zahl, D. (2014). Using Experiential Learning and OSCEs to Teach and Assess Tobacco Dependence Education with First-Year Dental Students. Dental Education, 78(5), 703-13.

Schmitz, F. M., Zimmermann, P. G., Gaunt, K., Stolze, M., & Schär, S. G. (2011). Electronic Rating of Objective Structured Clinical Examinations: Mobile Digital Forms Beat Paper and Pencil Checklists in a Comparative Study. In: 7th Conference of the Workgroup Human Computer Interaction and Usability Engineering of the Austrian Computer Society, Springer, 501–512.

Snodgrass, S. J., Ashby, S. E., & Rivett, D. (2014). Implementation of an Electronic Objective Structured Clinical Exam for Assessing Practical Skills in Pre-Professional Physiotherapy and Occupational Therapy Programs: Examiner and Course Coordinator Perspectives. Australasian Journal of Educational Technology, 30(2), 152-166.

Treadwell, I. (2006). The Usability of Personal Digital Assistants (PDAs) for Assessment of Practical Performance. Medical Education, 40(9), 855-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-09