ผลของการออกกำลังกายแบบกะลาบิค แบบการเดิน และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สุกันยา นัครามนตรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • วิทยา เหมพันธ์ สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การออกกำลังกาย, สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของรูปแบบการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน      3 รูปแบบได้แก่ การออกกำลังกายแบบกะลาบิค การออกกำลังกายแบบการเดินและการออกกำลังกายด้วยการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ต่อสมรรถภาพทางกายในกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คัดเลือกจากชมรมผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จังหวัดสงขลา สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม ได้แก่ แบบกะลาบิคแบบการเดิน และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน กลุ่มละ 10 คน โดยออกกำลังกายในแต่ละรูปแบบเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นการออกกำลังกายแบบกะลาบิค แบบการเดินและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired     t-test และสถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า

1. หลังการออกกำลังกายแบบกะลาบิคผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายทุกรายการสูงกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001

2. หลังการออกกำลังกายแบบการเดินผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายทุกรายการสูงกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001

3. หลังการออกกำลังกายโดยการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายทุกรายการมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันยกเว้น 4 รายการ คือ งอแขนยกน้ำหนัก 30 วินาที มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 ซึ่งด้านนั่งงอตัวไปข้างหน้า แตะมือด้านหลัง (ขวาอยู่บน) และแตะมือด้านหลัง (ซ้ายอยู่บน) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

4. ผลต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายทุกรายการของผู้สูงอายุระหว่างก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบกะลาบิค แบบการเดิน และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001

ดังนั้นผู้สูงอายุสามารถนำรูปแบบการออกกำลังกายแบบกะลาบิคและแบบการเดินมาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพ

References

Dejphratham, P. (2011). Changes in the Quality of Life among the Disabled After Rehabilitation in Siriraj Hospital. Bangkok: The Medical Association of Thailand.

Hultquist, C. N., Albright, C., & Thompson, D. L. (2005). “ Composition of Walking Recommendations in Previously Inactive Women.”. Medicine and Science in Sport and Exercise, 37(4), 676-683.

Institute of Geriatric Medicine. (2003). “General Exercise and Exercise in the Elderly”. Journal of Nursing Science and Health.

Jansook, P. (2000). Twenty-Year-Old Memorial for the Elderly Club: Boromarajonani College of Nursing Songkhla. Songkhla: Tem Publishing.

Nawsuwan, K., Chuchuang, S., Saengsuwan, W., & Nagaramontri, S. (2007). The Results of the Exercise of Bowling on Physical Fitness of Nursing Students Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. Research Report. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing, Songkhla.

Neasuwan, K., Kongkhun, P., & Wadi-Rama, R. (2005). Exercise Manual for Bowel. Narathiwat: Boromarajonani College of Nursing, Narathiwat.

Panuthai, S. (2017). Elderly Nursing. Chiang Mai: Faculty of Nursing.

Panyoyai, P. (2012). Aerobic Exercise for the Elderly. Journal of Nursing and Health, 35(2), 140-148.

Samahito, S., Pattaropas, W., Sasimontonkul, S., Sriyapai, A., Tienkaew, N., Kanchanasilanon, A., et al. (2013). Test and Standard of Physical Fitness for Elderly Aged 60-89 Years. Bangkok: Sport Science Bureau.

Sirikanchanakovit, S. (2006). A Comparative Study of the Effects of Heavy and Continuous Walking on the Efficacy of Elderly Women. Master's Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University.

Varas, S. (2013). Walking Exercise Results on Body Mass Index and Fat Percentage. of Junior High School Students Who are Overweight. Education: Master's Degree Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University Prasarnmit.

Wiratchai, N. (2012). “Accurate and Modern Methods for Determining Sample Sizes.” Research Zone Project: National Research Council of Thailand. Bangkok: Research Learning Center.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-21