การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
การกำหนดขอบเขต, การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชนบทคัดย่อ
การกำหนดขอบเขตการศึกษา และแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เป็นขั้นตอนการกำหนดทิศทางในภาพรวมของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จากปัจจัยกำหนดสุขภาพทั้งระดับบุคคล สิ่งแวดล้อม ระบบกลไก ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ โดยเป็นขั้นตอนที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการพัฒนา การเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้แสดงความคิดเห็น ข้อห่วงกังวล การเสนอแนะทางเลือกในการพัฒนา
การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามขั้นตอนการกำหนดขอบเขตของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการประเมินทางเทคนิค จากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวชุมชน อย่างเป็นระบบ และ การกำหนดขอบเขตการประเมินโดยชุมชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 50 คน ประกอบด้วย ผู้แทนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ศึกษา 10 คน คณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 15 คน ตัวแทนภาครัฐ และเอกชน 10 คน ผู้แทนองค์กร/กลุ่มจัดตั้งอื่นๆในพื้นที่ 10 คนและ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป 5 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ ตารางการสกัดข้อมูล (Data Extraction Sheet) เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีและตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน สามารถแบ่งได้เป็น 3 มิติ คือ 1) มิติด้านเศรษฐกิจ พบตัวชี้วัดสำคัญ คือการกระจายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยว การซื้อสินค้าและบริการในแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม และประสิทธิภาพในการจัดสรรรายได้ 2) มิติด้านสังคม วัฒนธรรม พบตัวชี้วัดสำคัญ คือ การรวมกลุ่มทางสังคมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน การสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร การมีส่วนร่วมของชุมชนในพิจารณาตัดสินใจด้านการจัดการ วางแผน และให้บริการ และการให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี ของชุมชน ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม และประเพณีสามารถใช้เป็นจุดขายในการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ และจะส่งผลให้ชุมชนเกิดสำนึกในการรักษาวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิม และ 3) มิติด้านทางนิเวศน์/สิ่งแวดล้อม พบตัวชี้วัดสำคัญ คือ ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ชุมชนต้องให้ความคุ้มครองและตระหนักถึงคุณค่า มูลค่าเพื่อส่งต่อให้ลูกหลานจากรุ่นสู่รุ่น
ดัชนีและตัวชี้วัดทั้ง 3 มิติ มีความเชื่อมโยงกับปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ และสามารถใช้เป็นกรอบในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดกระบี่
References
Inmuong, U., Inmuong, Y., & Rithmak, P. (2011). The Assessment of Community Health Impact Factor of Thapra Subdistrict, Muang District, Khon Kaen Province. Faculty of Public Health, Khon Kaen University. (in Thai)
Kemm, J. (2005). The Future Challenges for HIA. Environmental Impact Assessment Review, 25(7-8), 799-807.
Namee, J., & Roachanakanan, R. (2016). Strategic Environmental Assessment For Tourism: A Case Study of Tourism Group Area of PhuKradueng, Nong Hin and PhuLuang , Loei Province, Thailand. Dissertation of Master of Science Program in Technology of Environment Management. Faculty of Graduate Studies. Mahidol University (in Thai)
National Health Commission Office, (2017). Guidline for Health Impact Assessment on Public Policy, 2016. Cite 2018 March 15 Available from https://www.nationalhealth. or.th/node/1563 (in Thai)
Ross, S. (1999). Ecotourism: Towards Congruence Between Theory and Practice. Pergamon, 20(1), 123-132.
Scott-Samuel, A., Birley, M., & Ardern, K., (2001). The Merseyside Guidelines for HealthImpact Assessment. Liverpool: Merseyside Health Impact Assessment Steering Group.
Shafaei, F., & Mohamed, B. (2015). A Stage-Based Model Development Study on Tourism Social Impact Assessment. International Journal of Scientific and Research Publication, 3(5), 279-284.
Simpson, M. (2007). Community Benefit Tourism Initiatives A Conceptual Oxymoron?. Sciencedirect, 29, 1–18.
Sudsakorn, T. (2015). Analysis Synthesis and Total Economic Value of Tourism and Service Industry Research Project, of 2013. The Thailand Research Fund. Cited 2018 March 10 Available from URL: https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5650064 (in Thai)
Tsaur, S. (2005). Evaluating Ecotourism Sustainability from the Integrated Perspective of Resource, Community and Tourism. Sciencedirect, 27(4), 640–653.
White, S. (2010). Measuring Tourism Locally Guidance Note Four: Tourism Benchmarking and Performance Indicators. South Wales: The Government Statistical Service.
WHO. (1999). Health Impact Assessment Main Concept and Suggested Approach Gothenburg Consensus Paper. Brussels: European Centre for Health Policy.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้