การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ พันธนา โรงพยาบาลบึงกาฬ
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุรีย์ จันทรโมลี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุธรรม นันทมงคลชัย มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, การบริบาลทางเภสัชกรรม, การใช้ยาโรคเบาหวาน, ปัญหาการใช้ยา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การวินิจฉัยปัญหาและความต้องการรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยและญาติ จำนวน 86 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ โดยตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและญาติ บุคลากรสาธารณสุขในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวนกลุ่มละ 15 คน และการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระยะที่ 3 การประเมินผลจากการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 86 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ การลืมรับประทานยาและรับประทานยาที่ได้รับไม่ต่อเนื่อง และมีความต้องการแก้ปัญหาการลืมกินยาของผู้ป่วย
  2. รูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวินิจฉัยปัญหา ขั้นตอนการวางแผนการบริบาลทางเภสัชกรรมขั้นตอนการบริบาลทางเภสัชกรรม ขั้นตอนการสรุปประเมินผลรูปแบบ
  3. หลังการใช้รูปแบบ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยาสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ด้านความพึงพอใจผู้ป่วย บุคลากรสาธารณสุข และ อสม. มีความพึงพอใจด้านนวัตกรรมมากที่สุด ร้อยละ 86.10, 86.70 และ 86.70 ตามลำดับ

ดังนั้นหน่วยงานในพื้นที่ควรนำรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง

References

Benjawan, K. (2006). Diabetic Nursing. Phitsanulok: Regional Health Promotion Center 9.

Buengkan Hospital. (2016). Diabetic Patients Report. Buengka: Buengkan Hospital.

Buengkan Hospital. (2016). Medication Error Report. Buengkan: Buengkan Hospital.

Buengkan Hospital. (2016). Pharmaceutical Care of Patients with Diabetes Mellitus. Buengkan: Buengkan Hospital.

Chainit, I. (2010). To Strengthen the Power of Self Care, Diabetes Patients, Ubon Ratchathani Province. Faculty of Public Health, Udon Thani Rajabhat University.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.

Krejcie, R. V., & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Phychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika, 2, 151−160.
Patama, G. (2008). Chronic Care Model: Improving Primary Care for Patient with Hronic Illness. Chiang Mai. Family Medicine: Chiang Mai University. (in Thai)

Pinya, P. (2016). Model Development to Improve Accessibility of Diabetes and Hypertension Patients with Participation of Community Network, Maesakorn Health Promoting Hospital, Wiang Sa District, Nan Province. Journal of Health Science, 225, 394-400. (in Thai)

Sunthorn, Y. (2016). Development of a Health Promotion Model to Prevent Diabetes Mellitus in Primary Care Units with in District Health System (DHS), Mueang District, MahaSarakham Province. Bangkok. Journal of Health Science, 25, 181-191. (in Thai)

Suwara, L. (2005). Health Promotion Model by Community Participation for Diabetes Mellitus and Hypertension Risk People. Graduate SchoolKhon Kaen University.

Thanawan, P. (2017). Effectiveness of Self-Care and Self-Regulation Program on Self-Care Behaviors and Blood Sugar Level among Ageing Adults with Type 2 Diabetes, Chantha Buri Province. Journal of Health Science, 26, 50-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-22