โรคติดเชื้อไวรัสซิกากับการตั้งครรภ์: บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรค
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา, การตั้งครรภ์, พยาบาลอนามัยชุมชน, การป้องกันโรคบทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคคล้ายคลึงกับอาการ ของโรคอื่น ๆ ที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก โดยอาการส่วนใหญ่ที่มักพบ คือ มีไข้ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้มักไม่รุนแรง สามารถรักษาให้ หายได้ตามอาการ แต่ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ทำให้เกิดความผิดปกติ ของสมองตั้งแต่เกิดของทารก ได้แก่ ภาวะศีรษะเล็กแต่กาเนิด นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้เกิดโรคกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barré Syndrome) การป้องกันโรคที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยการสวมเสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ที่สามารถปกคลุมร่างกายได้มิดชิด ติดตั้งมุ้งลวด ปิดประตู หน้าต่าง นอนกางมุ้ง และใช้ยาทากันยุง และการ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พยาบาลอนามัยชุมชนมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ และสร้างความ ตระหนักให้แก่ประชาชนในการป้องกันโรค บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับความรุนแรงของโรค ติดเชื้อไวรัสซิกากับการตั้งครรภ์ และบทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดย เฉพาะการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกาเกี่ยวกับความรุนแรงของโรค และการป้องกันโรค
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้