ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของการรับรู้ความเสี่ยงอันตราย ที่มีผลต่อ พฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน

ผู้แต่ง

  • ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ
  • บุษยา สังขชาติ
  • ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์
  • ทองใหญ่ วัฒนศาสตร์
  • วรินทร์ลดา จันทวีเมือง
  • ซัมพูเด็ง มีนา

คำสำคัญ:

การรับรู้ความเสี่ยงอันตราย, พฤติกรรมการป้องกัน, กลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม, บุคลากรสาย สนับสนุน

บทคัดย่อ

กลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมมีสาเหตุจากการรับรู้ความเสี่ยงอันตรายและพฤติกรรมการปฏิบัติ งานกับคอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกต้อง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ และอำนาจในการทำนายของการรับรู้ ความเสี่ยงอันตรายที่มีผลพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 169 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ 3) ข้อมูลการรับรู้ ความเสี่ยงอันตราย และ 4) ข้อมูลพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม เครื่องมือผ่านการ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.80 และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ ส่วนที่ 3 และ 4 โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.92 และ 0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า

  1. การรับรู้ความเสี่ยงอันตรายกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับ พฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.393)
  2. การรับรู้ความเสี่ยงอันตรายกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกัน กลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของกลุ่มตัวอย่างได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 14.90 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีการรับรู้ความเสี่ยง อันตรายกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการดังกล่าว สูงขึ้นเช่นกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-27